วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์งานออกแบบและจิตวิทยาในการออกแบบ

การวิเคราะห์งานออกแบบเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งหลังจากการออกแบบ เราต้องมีการตรวจสอบการทำงานสร้างสรรค์ของเราทุกขั้นตอน
เพื่อให้การออกแบบของเราสามารถสื่อสารได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการออกแบบจึงต้องตรวจสอบอย่างละเอียด ให้มีความพึ่งพอใจ เข้าใจสื่อสารชัดเจนตรงกัน และออกแบบจัดวางอย่างเหมาะสม
การใช้จิตวิทยามาเน้นเรื่องการออกแบบให้โน้มน้าวใจจึงมีส่วนสำคัญ งานออกแบบที่สวยงามอาจจะไม่ใช่งานออกแบบที่สื่อสารได้ดีทีสุดก็ได้ เพราะความสวยงามในการออกแบบคนเราบางคนอาจจะมีความชอบต่างกัน ก็ทำให้ผลของการออกแบบไม่เป็นไปดังจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้นการวิเคราะการออกแบบจะช่วยให้งานออกแบบมีคุณภาพมากขึ้น เราอาจจะต้องเอาหลักจิตวิทยามาช่วยในการออกแบบ
เพราะนักจิตวิทยามีความเชื่อว่า แรงจูงใจ (Motivation) ช่วยกระตุ้นความคิดให้เกิดพฤติกรรมในการสื่อสาร เมื่อเกิดการคล้อยตามก็จะแสดงออกทางพฤติกรรม การแสดงออกที่เห็นได้ชัดคือ การให้ความสนใจมากขึ้นหรือการทำเลียนแบบข้อมูลนั้นๆ
การออกแบบควรใช้แนวทางเชิงจิตวิทยาด้วย โดยเฉพาะการออกแบบโฆษณาที่ใช้สายตามองหรือรับรู้ด้วยตา งานออกแบบที่ให้ความสำคัญต่อจิตวิทยากับการมองเห็นรับรู้จึงนำไปสู่ความสำเร็จในการออกแบบโฆษณา



ตัวอย่างงานที่ใช้หลักจิตวิทยาทำให้ภาพดูจูงใจ กระตุ้นความคิดให้เกิดกระบวนการสื่อสาร
ตัวอย่างงานจากอินเตอร์เน็ต*

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รับออกแบบ จ้างออกแบบ หาคนออกแบบ ออกแบบให้หน่อย

รับออกแบบกราฟฟิคทุกชนิด หลังจากได้ทำการเขียนบทความเกี่ยวกับการออกแบบกราฟฟิคไปแล้วหลายเรื่องมากมายจนจำไม่ได้แล้วว่าเขียนอะไรไปบ้าง หวังว่าทุกคนคงทำความเข้าใจและนำไปใช้ได้ เพื่อการออกแบบกราฟฟิคในงานของทุกๆคน
วันนี้ก็เลยไม่มีอะไรจะเขียนมากเพราะไม่ค่อยได้เขียนเลย ก็เลยมาขายของสักหน่อย ถ้าทุกคนอ่านแล้วยังงงหรือทำไม่ได้กับกระบวนการออกแบบต่างๆ ที่ผมเคยเขียนไว้
วันนี้ ผมเลยมีรับบริการงานออกแบบกราฟฟิค ไม่ว่าจะเป็นออกแบบโลโก้ ออกแบบใบปลิว
โบว์ชัว แผ่นพับ แค็ตตาล็อค การ์ด วารสาร นิตยสาร สติ๊กเกอร์ เว็บไซต์ เป็นต้น ในราคาที่ทุกคนเลือกได้ หรือจะเข้ามาขอคำแนะนำก็ได้ครับในบล็อกนี้
โอกาสต่อไปจะมาเขียนวิธีการใช้งานโปรแกรมสำหรับการออกแบบกราฟฟิคที่จะทำให้ทุกคนสนุกกับการออกแบบแน่นอน



ตัวอย่างงานออกแบบกราฟฟิคแบบต่างๆ


ตัวอย่างงานออกแบบแบบต่างๆ งานพิมพ์อิงค์เจ็ท เช่น
Inkjet Indoor Glossy PP ,Inkjet Indoor Sticker PP ,Inkjet Indoor Sticker PVC, Inkjet Indoor Sticker Film Clear, Inkjet Indoor Sticker Backlit, Inkjet Indoor Backlit Film, Inkjet Indoor Pet Film, Inkjet Indoor Canvas, Inkjet Outdoor Vinyl Fontlit, Inkjet Outdoor Vinyl Backlit, Inkjet Outdoor Sticker Backlit, Inkjet Outdoor Seethrough , Inkjet Outdoor Sticker Clear Film, Inkjet Outdoor Mesh ,Rollup, X-Banner, Backdrop
โรงพิมพ์ Offset เช่น
นาม บัตร (Name Card),ใบปลิว (Leaflet),โบรชัวร์ แผ่นพับ (Brochure),โปสเตอร์ (Poster),โปสการ์ด (Postcard),บัตรเชิญ (Invitations),แฟ้ม (Folder), นิตยสาร (Magazine), วารสาร (Journal),หนังสือ (Book),แคตตาล็อก (Catalogue),เมนู (Menu),คู่มือ (Manual),ป้ายตราสินค้า (Tag),ฉลาก (Label),บรรจุภัณฑ์ (Package)
โรงพิมพ์ Laser เช่น
เอกสารประกอบการขาย (Sales Presentation Document),เอกสารประกอบการสัมมนา (Siminar Document),รายงาน (Report),นามบัตร (Name Card),ใบปลิว (Leaflet),โบรชัวร์ แผ่นพับ (Brochure)
โปสเตอร์ (Poster),โปสการ์ด (Postcard),บัตรเชิญ (Invitations),นิตยสาร (Magazine),วารสาร (Journal),หนังสือ (Book),แคตตาล็อก (Catalogue),เมนู (Menu),คู่มือ (Manual),ป้ายตราสินค้า (Tag),ฉลาก (Label)

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ออกแบบโลโก้อย่างไรให้สวยงามและมีคุณภาพ

พูดถึงไปหลายทีแล้วสำหรับการออกแบบโลโก้ แต่วันนี้ไปได้ข้อมูลใหม่ที่น่าสนใจอาจจะทำให้เราออกแบบโลโก้ได้สวยงามและมี คุณภาพมากขึ้นก็ได้ โลโก้ก็คือชื่อสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าของบริษัทหรือองค์กรจาก ที่ได้ศึกษามาจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั้งในอินเตอร์เน็ตและหนังสือเรียนวิชาการ ออกแบบกราฟฟิคจากสำนักต่างๆ พอจะเข้าใจและสรุปว่า โลโก้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้า อาจมีลักษณะเป็นตัวอักษรที่มีรูปแบบเฉพาะตัวหรือเป็นภาพที่สื่อถึงสัญลักษณ์หรือประกอบด้วยทุกองค์ประกอบมารวมกัน แต่ไม่ว่าจะมีรูปแบบเป็นอย่างไรวัตถุประสงค์ของโลโก้ก็คือการบ่งบอกถึงภาพลักษณ์ของบริษัทหรือองค์กรนั้น ๆการออกแบบโลโก้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างแบรนด์ การออกแบบโลโก้ควรต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้เพื่อที่จะทำให้เราสร้างแบรนด์ หรือโลโก้ให้สวยงามและมีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน

1.ออกแบบเน้นความเรียบง่าย ให้คิดอยู่เสมอว่า โลโก้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสื่อความหมายของธุรกิจของท่าน เพราะโลโก้ไม่สามารถอธิบาย แผนงาน หรือ ธุรกิจของท่านทั้งหมดได้ในขั้นตอนเดียว
2 .ออกแบบให้ดึงดูดใจ สื่อความหมายที่ต้องการออกมา ได้ในตัวเอง และดูไม่ยากเกินไปด้วย
3. ออกแบบโลโก้ ให้มีความยังยืนใช้ได้ในระยะยาว
4. ออกแบบโดยใช้ภาพแบบลายเส้นที่ชัดเจน ไม่ใช้สีมาก
5. ออกแบบยืดหยุ่น พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
6. ออกแบบให้จดจำได้ง่าย
7. ออกแบบสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ โลโก้จะต้องออกมาทำให้ลูกค้าสามารถจินตนาการถึง ผลิตภัณฑ์หรือบริการของท่านได้
8. ออกแบบเลือกสีอย่างสร้างสรรค์ เลือกสี โลโก้ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของท่าน อาจใช้สีโลโก้ต่าง ๆ กันไปได้บนวัสดุต่าง ๆ กัน เช่นนามบัตร หรือกระดาษซองจดหมาย
9. ออกแบบมีเอกลักษณ์เฉพาะตน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของธุรกิจ เพื่อให้โลโก้ของท่านไม่ไปคล้ายคลึงกับของผู้อื่น
10. ออกแบบให้ใช้ได้ในทุกลักษณะ โลโก้ที่ดีควรใช้ได้ในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นบนป้าย หัวกระดาษเขียนจดหมาย นามบัตร ตัวสินค้าหรือเว็บไซต์ บางครั้ง โลโก้สามารถใช้ได้ดีบนเว็บไซต์หรือบิลบอร์ด แต่ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้บนปากกาหรือถ้วยกาแฟ เพราะฉะนั้นควรคำนึงถึงจุดนี้ด้วย เนื่องจากในการสร้างความจดจำในแบรนด์นั้น ท่านจะต้องเผยแพร่ โลโก้และภาพลักษณ์ของท่านให้สม่ำเสมอที่สุดเท่าที่จะทำได้


ตัวอย่างโลโก้ภาพจากอินเตอร์เน็ต*

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้า 5/4 ออกแบบโฆษณาประชาสัมพันธ์

การออกแบบโปสเตอร์ในขั้นตอนนี้จะเป็นโปสเตอร์ต่อเนื่องมาจากสเต็ปที่1และสเต็ปที่2 การออกแบบในขั้นตอนนี้เราจะเน้นที่การสร้างภาพลักษณที่ดีให้กับสินค้าของเรา สร้างภาพให้เราดูช่วยเหลือสังคมเพื่อความน่าเชื่อถือในตัวสินค้า
การออกแบบโปสเตอร์ชิ้นนี้สมมุติว่าสินค้าเราอยู่ในตลาดมานานแล้ว เราอยากจะสร้างความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้นไป เราก็จะสร้างโครงการปลูกต้นไม้ขึ้นมาโดยมีสินค้าเราเป็นผู้สนับสนุน เราต้องคิดออกแบบข้อความรูปภาพและแนวทางในการนำเสนอเพื่อให้เป็นไปตามสเต็ปที่เราวางไว้


การออกแบบ โปสเตอร์ในตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าเราไม่ได้เน้นการขายสินค้าเท่าไร แต่เราจะออกแบบให้สินค้าเราดูดีให้ประโยชน์แก่สังคม เหมือนเป็นการคืนกำไรให้กับลูกค้า เพื่อสร้างแบร์นสินค้า
โปสเตอร์ที่ได้ออกแบบแล้วทั้ง 3 สเต็ป เราสามารถเอาไปต่อยอดเพื่อทำสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ เช่น โฆษณาในนิตยสาร หนังสื่อพิมพ์ ใบปลิว แผ่นพับ ป้ายบิลบอร์ดบนทางด่วน เป็นต้น แล้วแต่ราจะเอาไปประยุกต์ ใช้ให้เหมาะสม
จะเห็นได้ว่าการออกแบบโปสเตอร์ทั้งสามสเต็ปนี้จะมีแนวทางการออกแบบที่แตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับแนวทางการโฆษณาของเราว่าต้องการจะสื่อในลักษณะไหนเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์หรือกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้า 5/3 ออกแบบโฆษณาประชาสัมพันธ์

เป็นการออกแบบโปสเตอร์สินค้าในขั้นตอนที่สองหลังจากเราออกแบบโฆษณาโปสเตอร์เปิดตัวสินค้าไปแล้วในครั้งแรก
ขั้นตอนนี้เราจะประชาสัมพันธ์โดยการเน้นย้ำเพิ่มรายละเอียดสินค้าหรือบริการให้สินค้ามากขึ้นจะได้เข้าใจสินค้าเราหลังจากที่เราทำโปสเตอร์ให้น่าสงสัยชวนติดตามมาในโปสเตอร์ชิ้นแรก
เราจะมาเฉลยในโปสเตอร์ชิ้นที่สองโดยตอบคำถามจากโปสเตอร์ชิ้นแรกที่เราทิ้งคำถามไว้ว่าปลาทูเป็นสาวแล้ว ผู้คนยังงงอยู่ว่าเราจะขายสินค้าอะไรเราก็เปิดตัวโปสเตอร์ชิ้นที่2ต่อเลย
กำหนดแนวความคิดขึ้นมาจริงๆแล้วเราควรกำหนดมาตั้งแต่แรกแล้ว (ตั้งแต่ทำโปสเตอร์ชิ้นที่1) โดยออกแบบภาพประกอบและคิดข้อความโฆษณาตามหัวข้อการเลือกภาพประกอบ และการกำหนดตัวอักษรสำหรับใช้ในการออกแบบโปสเตอร์



ตัวอย่างโปสเตอร์เปิดตัวสินค้าในขั้นตอนที่สอง เราพยายามนำเสนอข้อมูลและรูปของผลิตภัณฑ์ชัดเจนขึ้นกว่าโปสเตอร์ในขั้นตอนแรก

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

ออกแบบ การกำหนดขนาดตัวอักษรสำหรับใช้ออกแบบโปสเตอร์

การเลือกตัวอักษรในการออกแบบโปสเตอร์ Poster
ตัวอักษรในงานออกแบบโปสเตอร์มักจะมีอยู่ 3 ขนาดในหนึ่งชิ้นงาน ตามที่เรารู้กันอยู่ก่อนแล้ว เราจะมาดูถึงขั้นตอนการกำหนดตัวอักษร ตัวอักษรข้อความหรือตัวอักษรหัวเรื่องที่กำหนดลงในงานออกแบบกราฟฟิค จะทำหน้าที่บรรยายข้อมูลสาระให้รับรู้การกำหนดตัวอักษรจึงต้องเน้นหนักที่ขนาดของตัวอักษร รูปแบบ และการกำหนดสีบนตัวอักษรทั้งหมด
ขนาดของตัวอักษรที่ปรากฏในงานออกแบบโปสเตอร์โดยทั่วไปจะมี 3 ขนาด คือขนาดใหญ่สำหรับพาดหัว Heading ขนาดกลางสำหรับพาดหัวรอง Sub Heading และขนาดเล็กสำหรับรายละเอียดข้อมูล การกำหนดขนาดให้ส่วนใดมีขนาดเท่าใดไม่สามารถกำหนดได้แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับงานออกแบบแต่ละชนิด แต่หลักง่ายๆก็คือ ไม่ว่าขนาดเท่าใดต้องสามารถอ่านได้ชัดเจนซึ่งต้องพิจารณาจากสายตาที่มองเห็นระหว่างขนาดตัวอักษร และระยะห่างระหว่างบรรทัด



ตัวอย่างโปสเตอร์โฆษณา แสดงขนาดตัวอักษร

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ออกแบบ การกำหนดรูปภาพประกอบสำหรับใช้ออกแบบโปสเตอร์

การกำหนดรูปภาพประกอบสำหรับใช้ออกแบบโปสเตอร์
การออกแบบโปสเตอร์หรืองานกราฟฟิคชนิดต่างๆ ต้องมีภาพเข้ามาประกอบการทำงานเสมอ หลังจากเราได้ทำการออกแบบโปสเตอร์ (Poster) ในขั้นตอนแรกของการออกแบบโปสเตอร์เพื่อดึงดูดความสนใจไปแล้ว เราจะลองกลับมาดูการเลือกรูปประกอบของเราว่าเพราะอะไรเราถึงเลือกใช้รูปนั้นในการออกแบบให้สวยงามเหมาะสม
การกำหนดรูปภาพประกอบ ภาพประกอบที่ใช้สื่อในงานออกแบบได้แก่ รูปภาพจากภาพถ่าย จากการวาดเขียน ระบายสี จากลวดลายต่างๆ ที่เราใช้ประกอบการออกแบบในงานกราฟฟิค ซึ่งแบ่งได้สามลักษณะที่เราได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้ ส่วนแนวความคิดในการออกแบบภาพก็คือการกำหนดขนาดของภาพ กำหนดเรื่องราวของภาพ กำหนดรูปแบบของภาพ เทคนิคในการสร้างสรรค์ภาพไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายภาพเขียนจากกระดาษหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิค
การกำหนดตำแหน่งของภาพที่เหมาะสม เด่นชัด เนื้อหาของภาพต้องสอดคล้องกับข้อความ การวางตำแหน่งภาพที่ดีจะทำให้ชวนมองสร้างจุดสนใจได้ดี นักออกแบบสามารถกำหนดจุดสนใจภาพได้หลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือไว้ตรงกลางภาพ หรือเรียกว่าจุดศูนย์กลางความสนใจการมอง Optical Center



อีกตัวอย่างหนึ่งที่ นักจิตวิทยา Herman F. Brandt ได้ศึกษาทดลองถึงจุดสนใจของตำแหน่งที่เด่นที่สุดในภาพจากการมองในกรอบสี่เหลี่ยมของหน้ากระดาษ ได้สรุปผลดังนี้

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้า 5/2 ออกแบบโฆษณาประชาสัมพันธ์

ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมาก หลังจากเราได้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ที่พร้อมเข้าสู่การตลาดแล้วเราต้องมาทำการออกแบบให้เป็นไปตามแผนการตลาดที่ วางไว้ โดยอาจจะมีสื่อต่างๆ มากมายให้เราเลือกทำ
ในขั้นตอนนี้เราจะทำการ ออกแบบโฆษณาในประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์กันก่อน สื่อสิ่งพิมพ์นี้ก็หมายถึง โปสเตอร์ ใบปลิว ป้ายโฆษณา โบวชัวร์ หรือ อะไรก็ตามที่พิมพ์ออกมาโดยกระบวนการพิมพ์ต่างๆ
การออกแบบโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่เราเห็นทั่วไปในท้องตลาดสามารถแบ่งได้3หลักการใหญ่ๆได้ดังนี้
1.โฆษณาประชาสัมพันธ์ในการเปิดตัวสินค้าหรือบริการ จะใช้กับสินค้าหรือบริการใหม่ๆที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก มักทำให้เด่นน่าติดตาม
2.โฆษณา ประชาสัมพันธ์ในการเน้นย้ำเพื่อเพิ่มรายละเอียดสินค้าหรือบริการ จะใช้กับสินค้าหรือบริการที่เป็นที่รู้จักแล้วแต่เพิ่มรายละเอียดให้รู้จัก สินค้าให้มากขึ้น
3.โฆษณาประชาสัมพันธ์ในการสร้างภาพลักษณ์ มักจะใช้กับสินค้าหรือบริการที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้วในท้องตลาด โดยสร้างภาพให้สินค้าดูมีคุณค่าในสังคมช่วยเหลือสังคม
การทำโปสเตอร์ เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าของเรานั้นเลยต้องใช้หลักการโฆษณาทั้ง 3 ข้อ โดยเราจะเริ่มจากเปิดตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เราก่อน เพราะยังไม่มีใครรู้จักเราเลย
ขั้นตอนการออกแบบโปสเตอร์ (สิ่งพิมพ์) เปิดตัวสินค้า
1.กำหนด แนวความคิดในการออกแบบ ในหัวข้อนี้ขอให้แปลก ดูสะดุดตาไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ หรือข้อความ เพราะเราต้องดึงดูความสนใจให้ทุกคนหันมามอง
2.ขั้นตอนนี้ copy (ข้อความพาดหัว) สำคัญมาก ทำยังไงให้คนสนใจคำพูดของเราเพราะทุกๆคนยังไม่รู้จักเรา


ตัวอย่างโปสเตอร์นี้ผมใช้ภาพประกอบที่ดึงดูดความสนใจ และข้อความให้เด่นชัด เพื่อให้โปสเตอร์ดูน่าสนใจ
3.การออกแบบจะต้องมีแนวความคิดสื่อความหมายชัดเจนดึงดูดความสนใจของเป้าหมาย และออกแบบอย่างเหมาะสมตามหลักที่เราได้ศึกษามาก่อนหน้านี้
ต่อไปเราจะออกแบบโปสเตอร์ในสเต็ปที่สองต่อไปจะได้เป็นชุดเดียวกันเพื่อขยายความหมายและบอกรายละเอียดของโปสเตอร์ชิ้นแรก

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้า 5/1 การออกแบบกราฟฟิคบนสื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์

การออกแบบกราฟฟิคในงานใดๆ ก็มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายแตกต่างกันไป หลังจากเราได้ออกแบบกราฟฟิคในขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้ามาแล้ว 4ประเภท เราก็จะมาทำการโฆษณาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ แนวทางออกแบบจะเปลี่ยนไปตามลักษณะของสื่อแต่ละประเภท ที่มีข้อกำหนดต่างกันไป สื่อชิ้นแรกที่เราจะทำการออกแบบเพื่อการโฆษณาสินค้าคือ โปสเตอร์ (Poster)

สิ่งพิมพ์มีมากมายหลายประเภทโดยเฉพาะด้านสิ่งพิมพ์เพราะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการตลาดได้อย่างดี โปสเตอร์โฆษณาก็เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีบทบาทต่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เพราะสื่อประเภทนี้สามารถเผยแพร่ได้สะดวกและกว้างขวางสื่อสารได้ทุกเพศทุกวัยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ ออกแบบได้อย่างอิสระ การออกแบบโฆษณาจึงเน้นเรื่องความแปลกตา อาจจะมีเพียงภาพ หรือข้อความเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ทำให้นักออกแบบได้ใช้ความคิดใหม่ๆเสมอ

สื่อโฆษณาโปสเตอร์ poster ที่ดีควรสื่อความคิดหลัก 5 ประการได้แก่
1.จะต้องตอบสนองแนวความคิดในการสื่อความหมายได้อย่างเต็มที่
2.จะต้องชัดเจนในภาพประกอบและข้อความที่ใช้ในการสื่อความหมายเหมาะสมชัดเจน
3.ภาพประกอบและข้อความที่นำเสนอควรมีความสอดคล้องสัมพันธ์และส่งเสริมซึ่งกันและกัน
4.จะต้องสามารถดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด
5.ต้องมีความกะทัดรัดและแสดงแนวความคิดหลักเพียงอย่างเดียว
ส่วนขั้นตอนการออกแบบเราจะมาทำกันอีกในบทความต่อไป ตอนนี้เรามาดูตัวอย่างการออกแบบโปสเตอร์ทั่วๆไปก่อน



ตัวอย่างโปสเตอร์ Poster ขนาดต่างๆ
*ภาพประกอบทางอินเตอร์เน็ต


วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้า 4 ออกแบบถุงใส่สินค้า บรรจุภัณฑ์

ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้า ออกแบบถุงใส่สินค้า บรรจุภัณฑ์ ไหนๆก็ออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่เราจะขายกันแล้ว เรามาออกแบบถุงใส่สินค้าให้มันดูน่าสนใจดีกว่า เพราะถุงจะช่วยประชาสัมพันธ์สินค้าไปในตัวทำให้สินค้าที่อยู่ในถุงดูมีคุณค่า
ถือเป็นการโฆษณาที่ราคาถูกมากๆ แอบโฆษณาแบรนด์ สินค้าของเราไปในตัว ออกแบบให้เริ่ดหรูเรียบง่าย ใช้สีเฉพาะที่จำเป็น เน้นโลโก้ให้ชัดเจน


บรรจุภัณฑ์ packing ถุงลักษณะต่างๆ

ขั้นตอนการออกแบบถุง (โฆษณาแฝงที่ได้ผล)

1.ออกแบบรูปแบบ รูปทรง ขนาดของถุงที่เราต้องการ ให้สามารถใช้กับผลิตภัณฑ์เราได้ การขึ้นรูปถุงว่าจะเป็นลักษณะไหน
2.เลือกวัสดุที่จะใช้ทำถุง เช่น พลาสสติก หรือกระดาษ หรือวัสดุอื่นๆตามความเหมาะสม
3.เลือกใช้สีที่ให้ความรู้สึกเรียบหรู (ดูจากหลักการใช้สีในการออกแบบในบทความก่อนหน้านี้) สื่อความหมายได้
4.สร้างลวดลายกราฟฟิคใช้เป็นพื้นหลังโลโก้และเป็นลวดลายของถุงเพื่อให้ดูสวยงาม สร้างความโดดเด่นให้แบรนด์ สินค้า
5.ออกแบบและจัดวางโลโก้สินค้าในตำแหน่งที่เด่นชัด สามารถมองเห็นได้ทุกทางเวลาเดินถือถุง
ลองทำตามตัวอย่างที่ผมลองทำให้ดู อาจจะดูไม่ชัดเจนเท่าไรแต่เราก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการออกแบบต่อไปในการพัฒนาความคิดในขั้นตอนต่อไปอีกเรื่อยๆจนกว่าจะได้แบบที่พอใจ


ตัวอย่างแนวความคิดในการออกแบบถุงใส่บรรจุภัณฑ์
เพื่อใช้เป็นแนวการพัฒนาความคิดในขั้นตอนออกแบบต่อไปให้สวยงามขึ้น

เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบกราฟฟิคอื่นๆได้

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้า 3 ออกแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ Packging

หลังจากเราได้ออกแบบโลโก้สินค้า และชุดสำนักงานกันแล้ว เราก็จะมาทำการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ Packging รวมถึงฉลากของบรรจุภัณฑ์กันต่อ ซึ่งส่วนนี้สำคัญมากเพราะจะทำให้สินค้าเราดูโดดเด่นและแตกต่างจากท้องตลาด เพราะบรรจุภัณฑ์สินค้าจะเป็นสิ่งแรกที่เรามองเห็น ถ้าบรรจุภัณฑ์ Packging เราออกแบบสวยงามเหมาะสมแล้วก็จะทำให้การขายง่ายยิ่งขึ้น
สิ่งที่ต้องมีในงานบรรจุภัณฑ์ของเราก็คือ
1.แนวความคิดหรือสิ่งที่เราต้องการให้งานออกแบบเราเป็นไปตามเป้าหมายต้องกำหนดให้ชัดเจนก่อนการทำงานออกแบบทุกครั้ง
2.โลโก้ (ที่เราออกแบบไว้ก่อนแล้ว) เพื่อการสร้างแบรนด์ให้สินค้าน่าจดจำ เพราะเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่และเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่การสร้างผลกำไร
3.ภาพประกอบที่จะใช้บรรจุภัณฑ์ ภาพถ่าย ภาพวาด หรือรูปภาพ วิธีเลือกรูปภาพก็พิจารณาตามหลักการที่เราได้ศึกษามาแล้ว
4.ข้อมูลจำเป็นต่างๆเช่น วัตถุดิบ แหล่งผลิต ชนิดสินค้าเป็นต้น
5.รายละเอียดของบรรจุภัณฑ์ เช่น ถุง กล่อง กระป๋อง เป็นต้น เพื่อความเหมาะสมในการบรรจุสินค้านั้นๆ ให้สวยงามและเก็บรักษาสินค้าได้ถูกวัตถุประสงค์
ตัวอย่างง่านที่เราจะทำการออกแบบนี้เป็นสินค้าโอท็อปผลิตภัณฑ์จากปลาทูตามที่เราได้ทดลองทำตั้งแต่ขั้นแรกแล้ว เราจะสมมุติเป็นดังนี้คือ ข้าวเกรียบปลาทู ปลาทูกระป๋อง และปลาทูนึ่ง เป็นต้น
ขั้นตอนการออกแบบมีดั้งนี้
1.กำหนดแนวความคิด เลือกชนิดของบรรจุภัณฑ์ Packging ให้เหมาะสมว่าสินค้าชนิดนี้เหมาะกับบรรจุภัณฑ์แบบไหน เช่น ซอง กล่อง ขวด หรือกระป๋อง
2.ออกแบบบรรจุภัณฑ์ Packging ในที่นี้หมายถึงการออกแบบเพื่อผลิตเช่นขนาด รูปร่างรูปทรง รูปแบบการเลือกใช้ ไม่ใช่ว่าออกแบบสวยงามแต่ผลิตจริงไม่ได้หรือต้นทุนการผลิตสุงเกินไปจนไม่คุ้มค่า และเหมาะสม
3.กำหนดแนวทางออกแบบหรือแนวความคิดสร้างสรรค์งานในตัวอย่างนี้จะออกแบบโดยได้แนวความคิดมาจาก ลายสานเข่งปลาทู โดยการตัดทอนรายละเอียดออกเหลือเพียงตารางเส้นสานๆกัน โดยใช้สีฟ้าของน้ำทะเลเพื่อให้สื่อถึงความเป็นปลาทูในท้องทะเล
4.จัดตามแนวทางออกแบบกราฟฟิคโดยใช้หลักองค์ประกอบศิลป์เช่นการใช้เส้นในการแบ่งสัดส่วนการจัดวางว่าควรจะวางจุดเด่นจุดรองตรงไหน วางรูปภาพยังไง เลือกใช้สีโทนไหน ทั้งหมดให้ดูธีมหรือแนวความคิดตั้งแต่แรกของเราเป็นหลักจะทำให้งานดูสอดคล้อง



ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ ที่ออกแบบเป็นกล่องใส่ปลาทูเข่งและปลาทูกระป๋อง

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้า 2 ออกแบบชุดสำนักงาน


หลังจากเราได้ออกแบบโลโก้เรียบร้อยแล้ว เราจะมาออกแบบนามบัตรหรืออุปกรณ์สำนักงานต่างๆเราต่อ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าหรือองค์กรของเรา
ขั้นตอนหลักๆก็เหมือนเดิมต้องมีแนวความคิดที่ชัดเจน และสัมพันธ์กับรูปแบบที่เราต้องการ โดยเราอาจจะเอาโลโก้มาเป็นส่วนประกอบในการออกแบบให้สอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสีหรือรูปร่าง
ขั้นตอนทั่วไปในการออกแบบชุดอุปกรณ์สำนักงานที่จะช่วยในการประชาสัมพันธ์ทางอ้อมนอกเหนือจากโปสเตอร์ ใบปลิว แคตตาล็อก โบวชัวร์ สิ่งพิมพ์นิตยสาร หนังสือพิมพ์
ขั้นตอนการออกแบบดั้งนี้
1.กำหนดขอบเขตสิ่งที่จะทำการออกแบบ เช่น การกำหนดขนาดของนามบัตรว่าเราจะออกแบบที่ขนาดไหน โดยมากจะอยู่ที่ 5.5 x 9 cm ในตัวอย่างนี้เราจะทำการออกแบบ นามบัตร ซองจดหมาย ซองเอกสาร ซองใส่ซีดี ปกซีดี และปากกา เป็นต้น
2.กำหนดรูปแบบหรือธีมในการออกแบบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จะทำให้การออกแบบดูกลมกลืนกัน ควรสร้างธีมให้น่าเชื่อถือและสวยงาม ในตัวอย่างนี้ใช้เส้นโค้งของตัวปลาและใช้สีที่สื่อถึงท้องทะเลคือสีโทนฟ้าและสีโทนเย็นๆให้ดูสบายตา
3.ออกแบบและจัดวางงานกราฟฟิคให้ตรงตามหลักการออกแบบและหลักของศิลปะตามที่ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้ สื่อความหมายชัดเจน สวยงาม ในตัวอย่างให้เราวางเส้นโค้งต่างๆให้สมดุลย์ ช่องไฟให้เว้นไว้พอประมาณไม่ให้ดูเแน่นจนเกินไป และใช้สีให้สัมพันธ์กันไม่แตกต่างกันจนดูขัดกันเอง

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้า 1 ออกแบบโลโก้

หลังจากเราได้เรียนรู้ระบบ หลักการออกแบบตามหลักขององค์ประกอบศิลป์แล้วเราก็จะนำหลักการต่างๆที่ได้เรียนรู้ มาเริ่มต้นกระบวนการทำงานสื่อแต่ละประเภท สมมุติว่าเราจะทำสินค้าชนิด1ออกสู่ท้องตลาด ในที่นี้ผมยกตัวอย่างเป็นสินค้าโอท็อป (OTOP) ว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากปลาทูก็แล้วกัน อันดับแรกเลยเราก็คิดชื่อให้สินค้าเราก่อนโดยอาศัยหลักให้โดดเด่นจำง่ายมีความหมายในการนำเสนอยกตัวอย่าง ปลาทูยิ้ม, ปลาทูสองตัว, ปลาทูสยาม หรือปลาทูพลัส ก็ได้ให้มันจำง่ายไว้ก่อน เพราะมันจะทำให้เราทำงานขั้นตอนต่อไปได้ง่ายในที่นี้ผมเลือกชื่อ ปลาทูพลัส เพราะจำง่ายและเอาไปเล่นคำได้หลากหลาย พอได้ชื่อที่ต้องการแล้วเราก็มาออกแบบโลโก้กัน

1. ขั้นตอนการออกแบบกราฟฟิคโลโก้
1.หาแนวความคิดก่อนว่าเราต้องการสื่อแล้วหมายถึงอะไร เช่นแนวคิดมาจากเรือประมง จากทะเล จากภูเขา หรือจากปลา ถ้าเราได้แนวคิดที่จะเสนอแล้ว
เราก็เอาแนวความคิดมาพัฒนาในขั้นต่อไป
2.นำแนวความคิดมาสร้างสรรค์ให้สวยงามตามหลักศิลปะ เช่นการเขียนภาพให้สวยงาม หรือนำมาจากภาพถ่าย
3.ตัดทอนรายละเอียดให้ลดลงเพื่อสร้างความเด่นชัด และน่าสนใจ จดจำง่าย เราอาจจะตัดส่วนที่ไม่สำคัญออกไปเพื่อให้งานเราดูง่ายขึ้น
4.ออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานเช่นถ้าเราออกแบบโลโก้อาหารก็ควรจะออกแบบให้ดูน่ากินและปลอดภัยการใช้สีต้องเหมาะสม
ไม่ใช่ว่าออกแบบโลโก้อาหารแล้วใช้รูปหัวกระโหลกสีแดงอันนี้ก็จะแรงไปหน่อย ยังไงก็ออกแบบให้ดูน่าเชื่อถือไว้หน่อย
ตัวอย่างโลโก้ปลาทูพลัส ผลิตภัณฑ์จากปลาทู อีกอย่างถ้ามีก็จะดีครับคือสโลแกน แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร ผมคงไม่ต้องบอกวิธีคิดนะ
ตัวอย่างกระบวนการสร้างสรรค์ ออกแบบโลโก้ จะเห็นได้ว่าเราสามารถออกแบบพัฒนาไปได้เรื่อยๆจนกว่าจะได้แบบที่พอใจ แต่นักออกแบบบางคนอาจจะหยุดอยู่ที่การพัฒนาแบบที่4หรือ5ก็ได้

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ระบบโรงพิมพ์สิ่งพิมพ์กราฟฟิค การเลือกโรงพิมพ์

หลังจากผ่านขั้นตอนการออกแบบกราฟฟิคในส่วนของการทำต้นแบบหรือต้นฉบับงาน เราก็จะมาศึกษากระบวนการต่อไป
การออกแบบกราฟฟิคนั้นเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของการทำงาน ดังนั้นนักออกแบบกราฟฟิคจะต้องมีความรู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตงานกราฟฟิคด้านต่างๆ
เราควรจะศึกษากระบวนการผลิตสื่อด้านสิ่งพิมพ์ การติดต่อประสานงานกับโรงพิมพ์ การเลือกผลิตสื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ นักออกแบบกราฟฟิคจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ
วัสดุที่จะใช้ในการผลิตสิ่งพิมพ์สำหรับทำต้นฉบับ นักออกแบบกราฟฟิคต้องมีความเข้าใจและสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมตรงตามเป้าหมาย เพราะวัสดุแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของคุณภาพและคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่นกระดาษสำหรับโปสเตอร์ หรือไวนิลสำหรับป้ายโฆษณา
ในปัจจุบันโรงพิมพ์ที่ใช้ในการผลิตสิ่งพิมพ์ จะมีรูปแบบมากมายหลายวิธี การพิมพ์แต่ละแบบแต่ละวิธีต่างมีกระบวนการ ข้อจำกัด ข้อดีข้อเสียต่างกันไป การออกแบบจึงต้องให้เหมาะสมกับประเภทของสิ่งพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไป การพิมพ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังนี้

1.โรงพิมพ์ออฟเซต Offset Printing โรงพิมพ์ประเภทนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงไม่คุ้มค่ากับงานพิมพ์ที่มีจำนวนไม่มาก แต่ถ้างานพิมพ์ปริมาณมากๆก็จะได้ราคาที่ถูกลง เพราะใช้การพิมพ์แบบแยกสีทำเพลท การพิมพ์จากแม่พิมพ์นูน การพิมพ์จากแม่พิมพ์พื้นราบ การพิมพ์จากแม่พิมพ์ที่เป็นร่องลึก

2.โรงพิมพ์ดิจิตอล Digital Printing โรงพิมพ์ประเภทนี้จะช่วยให้การพิมพ์ในปริมาณไม่มากง่ายขึ้น ในราคาที่ถูกลง ไม่ว่าจะสั่งเพียงชิ้นเดียวก็ตาม เพราะใช้เครืองพิมพ์แบบ อิงค์เจ็ต Inkjet print เลเซอร์ laser print ก็อปปี้ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องอัดรูป หรือ อุปกรณ์ดิจิตอลที่สามารถพิมพ์งานได้

3.โรงพิมพ์ซิลค์สกรีน Stencil Screen Printing วิธีการพิมพ์แบบนี้เป็นวิธีง่ายๆโดยใช้หมึกพ่นทะลุส่วนที่เป็นลายฉลุให้ไปติดกับวัสดุพิมพ์


ตัวอย่างเครื่องพิมพ์แบบต่างๆ

นอกจากการพิมพ์แบบนี้แล้วยังมีการพิมพ์แบบต่างๆอีกหลายแบบ การพิมพ์แต่ละแบบก็มีวิธีการ กระบวนการ เทคนิค ตลอดจนหลักการที่แตกต่างกันออกไป

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หลักการจัดวางงานกราฟฟิค Art work ออกแบบสิ่งพิมพ์

หลังจากเราได้สร้างภาพกราฟฟิคและการสร้างตัวอักษรกราฟฟิคที่จะใช้ในงานออกแบบกราฟฟิค (Art work) ของเราแล้ว
เราก็จะมาดูหลักการจัดวางองค์ประกอบของงานโดยอาศัยหลักองค์ประกอบศิลป์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความสวยงาม
การเลือกใช้ภาพประกอบ ฟอน์ตตัวอักษร การจัดวางควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้มาใช้ประกอบการออกแบบจะทำให้ทำงานง่ายขึ้น

สัดส่วน Property หมายถึง ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างวัตถุขนาดต่างๆ ในงานกราฟฟิคซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่ใหญ่ไม่เล็ก
ความสมดุล Balance หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันงานกราฟฟิค ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง พอเหมาะพอดีกับ อาจจะเป็นแบบที่ซ้าย-ขวาเท่ากัน หรือแบบที่ซ้าย-ขวาไม่เท่ากันก็ได้ แล้วแต่เหมาะสม
จังหวะลีลา Rhythm การเคลื่อนไหว โดยเกิดจากเคลื่อนไหวของเส้น สี รูปร่าง รูปทรง หรือ น้ำหนัก ทำให้เกิดงานกราฟฟิคที่มีจังหวะลีลา
การเน้น Emphasis หมายถึง การทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดา โดยจะเด่นส่วนใดส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญกว่าส่วนอื่นๆ ซึ่งจะทำให้งานมีความงาม สมบูรณ์ ลงตัว และน่าสนใจมากขึ้น
เอกภาพ Unity ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของงานออกแบบ ทั้งด้านรูปลักษณะ และเนื้อหาเรื่องราว โดยการเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน
จะเห็นได้ว่าเมือเรานำส่วนต่างๆมาประกอบกันจะทำให้เราออกแบบงานกราฟฟิคได้ง่ายและสวยงามตรงแนวความคิดไม่หลุดจากสิงที่เราต้องการนำเสนอ



ตัวอย่างงานจะเห็นได้ว่าเป็นการจัดว่างภาพประกอบ กับ ตัวอักษรอย่างง่ายๆ โดยใช้องค์ประกอบศิลป ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของวัตถุ หรือ ขนาดตัวอักษรที่พอดี ความสมดุลที่พอดีที่อาจจะดูแล้วซ้าย-ขวาอาจจะไม่เหมือนกันแต่น้ำหนักของงานกับเท่ากัน การเน้นเฉพาะส่วนให้เด่นเป็นพิเศษเช่นตัว N (เอ็น) และความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในเนื้อหาการนำเสนอ

**หมายเหตุ ตัวอย่างงานจากอินเตอร์เน็ต

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ลักษณะของภาพกราฟฟิคในงานออกแบบกราฟฟิค

ลักษณะประเภทของภาพกราฟฟิคที่เราแบ่งออกมาชัดเจนตามประสบการณ์ที่เห็นเป็น3ชนิด
1.ภาพที่ถ่ายทอดตามความเป็นจริง (Realistic)
เป็นภาพที่ดูแล้วเหมือนวัตถุจริงในธรรมชาติมีการเน้นลักษณะรูปร่าง รูปทรง แสงและเงา การใช้สีเหมือนจริงภาพเขียนเหมือนจริง

2.ภาพที่ถ่ายทอดด้วยลักษณะการตัดทอน (Distortion)
เป็นภาพที่พยายามดัดแปลงจากความเหมือนจริงโดยเสริมแต่งตัดทอนใหม่ ลดรายละเอียดบางอย่งภาพในภาพออกไปและขณะเดียวกันก็ยังคงไว้ซึ่งเค้าเดิมให้ผู้ดูทราบว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นอะไร เช่นภาพการ์ตูน ภาพถ่ายบิดเบือน

3.ภาพที่ถ่ายทอดตามความรู้สึก (Abstraction)
เป็นภาพที่ไม่พรรณนาเรื่องราวตามความเป็นจริง แต่มองลึกลงไปในความรู้สึกภาพในวัตถุ หรือเกิดจากอารมณ์ส่วนลึกที่ผู้สร้างได้ถ่ายทอดออกมาเป็นเพียงสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ภาพที่ดีจะสามารถถ่ายทอดความรู้สึกของนักออกแบบกราฟฟิคได้อย่างตรงไปตรงมา

ลักษณะภาพที่เลือกนำมาใช้จะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ดูเกิดอารมณ์คล้อยตาม

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หลักการออกแบบภาพกราฟฟิคและการเลือกใช้ภาพ

หลังจากที่เราได้เรียนรู้หลักการออกแบบกราฟฟิคมาแล้วไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้สีในการออกแบบ การใช้เส้นเพื่อกำหนดรูปร่างหรือสร้างตัวอักษร เพื่อใช้ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ หรืองานกราฟฟิคชนิดต่างๆ
อีกสิ่งที่สำคัญในการออกแบบงานกราฟฟิคไม่ว่าประเภทได้ก็ตามก็คือการเลือกใช้ภาพกราฟฟิคไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย หรือภาพที่สร้างขึ้นเองจากการใช้เส้นและสีในการเขียนหรือออกแบบขึ้นมา การออกแบบรูปภาพประกอบในสื่อใดๆก็ตาม จะสร้างความน่าสนใจได้ดีมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของภาพ รายละเอียดของภาพตลอดจนเทคนิควิธีการออกแบบกราฟฟิค ภาพที่นำมาใช้จะต้องสื่อความหมายบรรยายเนื้อหาและมีความสวยงาม องค์ประกอบของภาพที่จะทำให้ภาพมีความโดดเด่นจะต้องประกอบด้วย
1. ลักษณะของภาพจะต้องเหมาะสมตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
2. รูปแบบภาพจะต้องสัมพันธ์กับรูปแบบของงานกราฟฟิคโดยรวมและสอดคล้องกับแนวความคิด (concept)ของงานนั้นๆ
3. สีของภาพต้องชัดเจนตรงตามหลักทฤษฎีการใช้สีที่สื่อความหมาย ดูสวยงามตื่นตา
4. ขนาดของภาพการกำหนดสัดส่วนทั้งหมดของภาพ ภาพที่มีขนาดใหญ่จะดูมีความน่าสนใจแต่อาจจะเป็นภาพเล็กๆหลายๆภาพมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นภาพใหญ่ก็ได้แล้วแต่แนวคิดในการนำเสนอ ภาพที่ใช้อาจจะเหมาะกับงานหนึ่งงานได้โดยเฉพาะ การกำหนดภาพกราฟฟิคว่าเหมาะสมกับงานประเภทใด อาจต้องอาศัยประสบการณ์ของนักออกแบบกราฟฟิคเอง ซึ่งพอจะแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะเด่นในบทความต่อไป


ลักษณะของภาพกราฟฟิคที่เด็กและผู้ใหญ่อาจชอบไม่เหมือนกัน

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิธีการออกแบบตัวอักษรกราฟฟิคดีไซน์

วิธีการออกแบบตัวอักษร
การเริ่มต้นออกแบบตัวอักษรควรเริ่มต้นด้วยการเขียนแบบร่างอย่างหยาบ โดยยึดหลักโครงสร้างและส่วนสัดของตัวอักษรเป็นแนวคิดสำคัญในการกำหนดแบบที่ร่างบนแนวเส้นบรรทัด การใช้ตาราง (Grid) ที่มีอยู่ในโปรแกรมออกแบบกราฟฟิคทั่วไปจะช่วยให้การออกแบบมีความสะดวกและง่ายขึ้นเพราะมีเส้นนำอยู่ ทำให้การกำหนดสัดส่วนทำได้ง่ายขึ้น การออกแบบเพื่อให้เกิดความสะดวกในการอ่านมีสิ่งที่จะต้องพิจารณา ดังนี้
1.การกำหนดขนาดของตัวอักษร
2.การกำหนดสัดส่วนของตัวอักษร
3.การกำหนดระยะห่างของตัวอักษรซึ่งมีข้อกำหนด 3 ประการ คือ
3.1 ระยะห่างภายในตัวอักษร
3.2 ระยะห่างระหว่างตัวอักษร
3.3 ระยะห่างระหว่างบรรทัด
4.ความถูกต้องในการจัดวางตำแหน่ง สระ พยัญชนะและวรรณยุกต์

เราสามารถทำการออกแบบได้ง่ายขึ้นด้วยการใช้เส้นต่างๆมาประกอบกัน

เทคนิคการสร้างแบบตัวอักษร
การออกแบบหรือสร้างแบบตัวอักษรหรือการเลือกแบบตัวอักษรในแต่ละครั้งจะต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานนั้นๆ ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ตัวอักษรที่นำมาใช้เป็นข้อความต่างๆ ย่อย
จะมีลักษณะอย่างหนึ่งตามชนิดของงานกราฟฟิคเช่น ตัวอักษรที่เป็นหัวเรื่องชื่อสินค้า แผ่นป้ายโฆณา หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป เทคนิคการออกแบบตัวอักษรจึงมีความหลากหลาย มีการดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบแตกต่างกันไป ได้แก่
1.การออกแบบตัวอักษรบนแนวระนาบตรง
2.การออกแบบตัวอักษรบนแนวระนาบโค้ง
3.การออกแบบตัวอักษรบนพื้นที่จำกัด
4.การออกแบบตัวอักษรเงา
5.การออกแบบตัวอักษรแบบจุดรวมสายตา
6.การออกแบบตัวอักษรแบบอิสระ
7.การตกแต่งตัวอักษร

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หลักการและขั้นตอนการออกแบบอักษรประดิษฐ

ในการออกแบบประดิษฐอักษร นอกจากจะแฝงไว้ซึ่งความต้องการให้อ่านง่ายและมีความชัดเจนในรูปแบบแล้ว ยังต้องให้ตอบสนองจุดประสงค์อันลึกซึ้งอันเกี่ยวกับลีลาทางความสวยงาม ที่อาจจะแสดงในรูปของสัญลักษณ์เพื่อสร้างความอยากรู้อยากเห็นเน้นความสำคัญ เกิดความรู้สึกตื่นเต้น ตลกขบขันหรือสร้างความพิศวง
หลักการออกแบบ ความสวยงามของรูปแบบตัวอักษรและอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยพื้นฐานทางศิลปะเป็นหลักปฏิบัติ โดยที่ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.ความมีเอกภาพ (Unity)
2.มีความกลมกลืน (Harmony)
3.มีสัดส่วนที่สวยงาม (Proportion)
4.มีความสมดุล (Balance)
5.ช่วงจังหวะ (Rhythm)
6.มีจุดเด่น (Emphasis)

การออกแบบตัวอักษร (Lettering Design)
ในการออกแบบตัวอักษรที่จะใช้ในงานกราฟฟิคจะเริ่มต้นจากการศึกษาถึงโครงสร้างของตัวอักษรซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวจะมีแนวคิดในการออกแบบสร้างสรรคขึ้นมาใหม่จะต้องอยู่ในพื้นฐานของโครงสร้างหลักเป็นสำคัญ เพราะการออกแบบที่ดีและสวยงามต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสม ซึ่งมีผลต่อการอ่านด้วย


การจัดสัดส่วนและระยะของช่องไฟจะเห็นได้ว่าตัวอักษรข้อความที่ถูกออกแบบจัดวางอย่างพอเหมาะพองาม อ่านง่าย ดูสบายตา จะทำให้ชวนดูชวนอ่าน

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตัวอักษรในการออกแบบกราฟฟิค

ในการออกแบบกราฟฟิคนั้นการใช้ตัวอักษรเพื่อสื่อความหมายในงานนั้นก็มีลักษณะเด่นๆอยู่ 2 ลักษณะที่ชัดเจนการแบ่งประเภทของตัวอักษรอาจแบ่งได้ตามลักษณะเฉพาะของการออกแบบตัวอักษรได้เป็น 2 ลักษณะด้วยกันดังนี้
1.แบบราชการหรือแบบเป็นทางการ มีลักษณะเด่นคือ มีรูปแบบเรียบง่าย เป็นระเบียบมีลักษณะเส้นเป็นแบบเส้นตรงเป็นส่วนใหญ่ สามารถนำไปใช้เป็นแบบหัวเรื่อง ชื่อสถานที่ หรือใช้เป็นข้อความบรรยายได้
2.แบบอิสระ ตัวอักษรนี้มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามลักษณะงานที่นำไปใช้ ส่วนมากจะใช้ในงานออกแบบสื่อโฆษณา สิ่งพิมพ์ หัวเรื่อง ปกวารสาร นิตยสารตลอดจนงานเกี่ยวกับความบันเทิง รูปแบบตัวอักษรมีลีลาของเส้นเป็นแบบอิสระไม่แน่นอน



ซึ่งตัวอักษรทั้งสองลักษณะนี้ยังสามารถเอามารวมกันได้อย่างสวยงามและเหมาะสมได้ตามแต่นักออกแบบกราฟฟิคจะต้องการนำเสนอ

หลังจากที่เราเรียนรู้ถึงลักษณะเด่นๆของตัวอักษรแล้วเราก็จะมาเรียนรู้ถึงหลักการและขั้นตอนการออกแบบตัวอักษร ในบทความต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หลักการใช้เส้นในการออกแบบตัวอักษรเพื่อใช้ในงานกราฟฟิคดีไชน์

หลักการใช้เส้นในการออกแบบตัวอักษรเพื่อใช้ในงานกราฟฟิคดีไชน์
หลังจากเราได้เรียนรู้การใช้ตัวอักษร (Font) ในการออกแบบกราฟฟิคว่าควรจะใช้ฟอนต์ลักษณะไหนจัดว่างอย่างไร
ฟอนต์ (Font) หรือ ตัวอักษรเกิดจากการนำเส้นมาประกอบกันเพื่อให้เกิดรูปร่าง เพื่อการออกแบบจะเน้นทำให้เกิดผลทางความรู้สึกในการมองเห็น ความชัดเจนในการอ่านและความน่าสนใจในรูปร่างละรูปแบบของตัวอักษร
การเลือกใช้เส้นที่มีลักษณะต่างๆกัน มาทำการออกแบบจึงควรพิจารณาอย่างเหมาะสม บางครั้งอารมณ์ของเส้นอาจเป็นความตั้งใจในการเขียนหรือออกแบบ อารมณ์และความรู้สึกของเส้นนั้นย่อมจะแตกต่างกันไปตามที่เคยศึกษามาจากหลักการใช้เส้นในการออกแบบและความหมายของเส้น ดังตัวอย่าง



เส้นที่นำมาเขียนเป็นตัวอักษรหรือฟอนต์ นอกจากจะทำให้เกิดรูปร่างลักษณะต่างๆแล้ว ยังทำให้เป็นรูปแบบ ตัวอักษรอีกด้วยดังนี้
1.ตัวเส้นเรียบ เป็นตัวอักษรที่มีเส้นขนาดเท่ากับหลอด และมีขอบเส้นตัวอักษรตรงเรียบ
2.ตัวเส้นวาดเขียน เป็นแบบตัวอักษรที่มีขนาดเส้นหนาบางต่างกัน ซึ่งมีลีลาค่อนข้างอิสระ อันเกิดจากการเขียนด้วยปากกาหรือพู่กัน
3.ตัวเส้นอิสระ เป็นลักษณะตัวอักษรที่มีลักษณะเส้นไม่แน่นอน อาจเป็นเส้นหยัก เส้นโค้งงอ หรือเส้นซิกแซก หรืออาจจะเป็นลักษณะของลวดลายประกอบก็ได้

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หลักการใช้เส้นในการออกแบบกราฟฟิค

หลักการใช้เส้นในการออกแบบกราฟฟิค
เส้นมีส่วนสำคัญในงานออกแบบกราฟฟิคอย่างมากแต่เรามักมองข้ามความหมายของเส้นที่สามารถบอกอารมณ์ความรู้สึกของงานออกแบบกราฟฟิค เส้น (Line)คือ ร่องรอยที่เกิดจากจุดวางเรียงต่อ ๆ กันไปก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขตของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแกนหรือ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง
เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดงความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง (Straight Line) และ เส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึกที่แตกต่างกันอีกด้วย
ลักษณะของเส้นที่สื่อความหมายในงานออกแบบกราฟฟิค
1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่นเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง
2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง
4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็นจังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพอ่อนโยน นุ่มนวล
6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด
7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทางที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง
8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด

ลักษณะเส้นในแบบต่างๆ

ความสำคัญของเส้นในการออกแบบกราฟฟิค
1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ
2. กำหนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา
3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึ้น
4. ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ ของแสดงและเงา หมายถึง การแรเงาด้วยเส้น
5. ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หลักการใช้สีในการออกแบบกราฟฟิค 3

กลุ่มของสีที่ให้ความรู้สึกต่างกัน นักออกแบบกราฟฟิคควรศึกษาและทดลองการใช้กลุ่มของสี จำนวน 3-4 สี ในการสร้างความรู้สึกแก่กลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการออกแบบกราฟฟิค โดยสามารถสรุปลักษณะของกลุ่มสีได้ ดังนี้
1. กลุ่มสีที่ก่อให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ (exitement color) เหมาะสำหรับใช้กับการออกแบบประเภทป้ายเตือนให้ระวังอันตราย ได้แก่ สีแดง สีดำสีเหลือง และสีแสด
2. กลุ่มสีซึ่งแสดงความเป็นผู้หญิง (feminine color) เหมาะสำหรับใช้กับการออกแบบที่เน้นความเป็นผู้หญิง หรือผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิง ได้แก่ สีชมพู สีฟ้า สีเหลืองอ่อน และสีเขียวอ่อน
3. กลุ่มสีซึ่งแสดงความเป็นผู้ชาย(masculine color) เหมาะสำหรับใช้กับการออกแบบที่เน้นความเป็นผู้ชาย หรือผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ชาย ได้แก่ สีดำ สีน้ำเงิน สีเทา และสีแดง
4. กลุ่มสีที่เน้นความสด (fresh color) เหมาะสำหรับใช้กับการออกแบบที่เน้นความสดของ สินค้า เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น ได้แก่ สีเหลืองสีเขียวเหลือง และสีน้ำเงิน
5. กลุ่มสีที่แสดงออกถึงสุขภาพ (healthy color) เหมาะสำหรับใช้กับการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เน้นด้านสุขภาพ เช่น อาหารเสริม ยา ได้แก่ สีเหลืองสีน้ำตาล และสีเขียว
6. กลุ่มสีที่แสดงออกถึงความสั่นสะเทือน (vibrant color) เหมาะสำหรับใช้กับการออกแบบซึ่งต้องการแสดงความเคลื่อนไหว สั่นสะเทือน ได้แก่ สีน้ำเงิน สีแดง สีเหลือง และสีเขียว
7. กลุ่มสีที่แสดงออกถึงความน่าเชื่อถือ (sophisticated color) เป็นสีที่เหมาะสำหรับใช้กับการออกแบบซึ่งต้องการจูงใจให้ผู้ดูเชื่อถือในสินค้า หรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้แก่ สีดำ สีเหลือง สีน้ำตาล และสีทอง

ดังนั้นการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ที่ดีมีความสอดคล้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การผลิตสื่อพิมพ์จะทำให้ผลงานสื่อสิ่งพิมพ์บรรลุวัตถุประสงค์เสริมคุณค่าให้กับสื่อสิ่งพิมพ์นั้นๆ เป็นอย่างดีงานการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์แต่ละชิ้นไม่มีสูตรสำเร็จ แต่เป็นงานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการเฉพาะตัวของนักออกแบบเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและวัตถุประสงค์ให้ได้มากที่สุด โดยอาจอาศัยหลักการออกแบบที่ต่างๆเช่น องค์ประกอบมูลฐานทางศิลปะ และทฤษฎีสีมาประกอบขึ้นเป็นความสวยงามที่สามารถสื่อสารความหมายที่ต้องการได้อย่างสมบูรณ์
ข้อมูลโดย สพท.

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หลักการใช้สีในการออกแบบกราฟฟิค 2

หลังจากที่เราได้เรียนรู้ความหมายของสีที่สื่อความรู้สึกต่างๆไปบ้างแล้ววันนี้เราจะมาดูต่อให้หมดว่าสีต่างๆควรนำไปใช้กับงานออกแบบกราฟฟิคประเภทใดได้บ้าง
6. สีเหลือง (yellow) คือ สีแห่งความสุขสดชื่น ร่าเริงมีชีวิตชีวา เป็นสีที่อยู่ในโทนที่เข้ากันได้กับทุกสี มีการนำมราใช้ในความหมายของสัญลักษณ์แห่งความหวัง หรือความระมัดระวัง เป็นต้น
7. สีเขียว (green) คือ สีของต้นไม้ใบหญ้าให้ความรู้สึกสดชื่น งอกงามเป็นสัญลักษณ์ของความสงบ เรียบง่าย และความอุดมสมบูรณ์
8. สีฟ้า (blue) คือ สีแห่งท้องฟ้าและน้ำทะเล เป็นสัญลักษณ์ของความสงบ เยือกเย็น มั่งคั่งแต่เต็มไปด้วยพลัง หากเป็นสีฟ้าอ่อนจะให้ความรู้สึกสดชื่น สวยงาม กระฉับกระเฉง เป็นหนุ่มสาว
9. สีม่วง (purple) คือ สีแห่งความลึกลับมีเลศนัย ซ่อนเร้น เป็นสีที่มีอิทธิพลต่อจินตนาการและความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก เช่น เทพนิยายต่างๆ มีการนำมาใช้ในความหมายของความสูงศักด์ิ
10. สีน้ำตาล (brown) เป็นสีแทนสัญลักษณ์ของความร่วงโรย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีใบร่วงหล่นเมื่อถึงอายุขัย เป็นสีที่ให้ความหมายดูเหมือนธรรมชาติเช่น สีน้ำตาลอ่อนและแก่ของลายไม้เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้ในความหมายของความถ่อมตน เก่าแก่
11. สีแจ๊ด (vivid colors) คือ สีที่สะดุดตาเร็วมองเห็นได้ไกล โทนของสีตัดกันแบบตรงข้าม เช่นแดงกับดำ เหลืองกับน้ำเงิน เขียวกับแดง ดำกับเหลืองเป็นต้น สิ่งเหล่านี้นิยมใช้กันมากในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น ของเด็กเล่น ภัตตาคาร ร้านอาหารประเภทฟาสต์ฟู๊ด คาเฟ่ ข้อเสียของสีเหล่านี้ คือหากใช้จำนวนสีมาก จะมองดูลายตา พร่า วิธีที่ดีควรใช้หนึ่งหรือสองสีเป็นตัวเน้นเท่านั้น
12. สีทึม (dull colors) คือ สีอ่อนที่ค่อนข้างเข้ม หรือสีเข้มที่เจือจางลง ให้ความรู้สึกที่สลัวลาง มัวบางครั้งดูเหมือนฝัน และดูคลายเครียด
13. สีจาง หรือสีอ่อน (light colors) ให้ความหมายที่อ่อนโยน เบาหวิวเหมือนคลื่นเมฆหรือปุยฝ้าย ช่วยทำให้พื้นที่ที่แคบให้ดูกว้างขึ้น โทนสีเหล่านี้จะใช้กันมากกับเสื้อผ้าสตรี ชุดชั้นใน แฟชั่นชุดของห้องนอน ในงานศิลปะมีการใช้สีอ่อนเป็นพื้นฉากหลัง เพื่อขับให้รูปทรงลอยเด่นขึ้น
14. สีมืดทึบ (dark colors) ให้ความรู้สึกหนัก แข็งแกร่ง เข้ม มีพลัง สังเกตได้จากเครื่องแต่งกายของทหาร สีสูทของผู้ชาย เครื่องแบบของช่าง เป็นต้น

ตัวอย่างแม่สีในทางศิลปะ

นอกจากนี้สีต่างๆที่ได้เรียนรู้ไป ในการออกแบบกราฟฟิคยังสามารถแบ่งสีออกเป็นลักษณะกลุ่มสีเพื่อให้สอดคล้องกับงานออกแบบกราฟฟิค
บทความต่อไปเราจะมาดูต่อในเรื่องกลุ่มของสีในการออกแบบกราฟฟิค

วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หลักการใช้สีในการออกแบบกราฟฟิค 1

การออกแบบกราฟฟิคเดียวนี้ นักออกแบบกราฟฟิคมักจะลืมส่วนสำคัญในการออกแบบกราฟฟิคไปพอสมควร หลังจากได้คุยกับนักออกแบบกราฟฟิคหลายๆคนนักออกแบบกราฟฟิคส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกัเทคโนโลยีใหม่ๆจากการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกแบบไม่ว่าจะเป็นเอฟเฟค (Effect) ลูกเล่นต่างๆที่โปรแกรมมีให้ จนลืมนึกถึงองค์ประกอบศิลป์ ที่จะทำให้งานกราฟฟิคดูสมบูรณ์ขึ้น นักออกแบบกราฟฟิคบ้างคนก็คิดว่าแค่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกแบบกราฟฟิคเช่นโฟโต้ช็อปได้ก็เป็นกราฟฟิคดีไชน์ได้แล้วจากนี้ไปผมจะเริ่มกลับไปศึกษาถึงหลังการออกแบบกราฟฟิคโดยใช้หลักองค์ประกอบศิลป์เป็นพื้นฐานก่อนการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบโดยการศึกษาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เริ่มจากหลักการใช้สีในการออกแบบกราฟฟิคเพื่อจะช่วยให้เราออกแบบกราฟฟิคได้ง่ายขึ้น
การใช้สีในงานออกแบบกราฟฟิค
เพื่อให้เกิดผลในการจูงใจและเร้าความสนใจแก่ผู้ดูนั้น นักออกแบบสามารถพิจารณาจากจุดมุ่งหมายของงานออกแบบ (design) ว่า ต้องการสร้างความรู้สึกอย่างไรต่อผู้ดู
และการเลือกใช้สีให้เหมาะสมความหมายและความรู้สึกต่อสี ความหมายและความรู้สึกต่อสีแต่ละสีนั้น มีความแตกต่างกันไปในแต่ละสี ดังนี้
1. สีร้อน หรือสีอบอุ่น (warm color) ได้แก่ สีเหลือง สีชมพู แดง ส้ม ม่วงน้ำตาล ให้ความหมายและความรู้สึกก้าวร้าว รื่นเริง สดชื่น ฉูดฉาด จึงมีอิทธิพลต่อการดึงดูดและสร้างความน่าสนใจให้กับสื่อสิ่งพิมพ์ได้ดีกว่าสีโทนอื่น มีการนำสีร้อนมาใช้ในการออกแบบงานชื่อหนังสือ นิตยสาร แคตตาล๊อกโปสเตอร์ เป็นต้น
2. สีเย็น (cool color) เริ่มจากสีเทา ฟ้าน้ำเงิน เขียว ให้ความหมายและความรู้สึกสงบ เย็นสะอาด
3. สีขาว (white) สีแห่งความขาว สะอาดให้ความหมายและความรู้สึกบริสุทธ์ิ ไร้เดียงสา
4. สีดำ (black) สัญลักษณ์แห่งความโศกเศร้า หดหู่ และความตาย บางกรณีใช้แทนความชั่วร้าย ในความหมายของชาวยุโรป อเมริกาแทนความเป็นผู้ดี ขรึม มั่นคง นอกจากนั้น ยังใช้ในความหมายของความอมตะ และเป็นนิรันดร์ อีกด้วย
5. สีแดง (red) คือ สีแห่งความกระตือรือร้น เร่าร้อน สะเทือนอารมณ์ มีพลัง ให้ความสว่างโชติช่วงเป็นสีแห่งความรัก ดึงดูดความสนใจ หากเป็นสีชมพูซึ่งความเข้มของสีแดงจะลดลง จะให้ความรู้สึกที่อ่อนหวาน สีแดงอาจใช้สื่อความหมายในสัญลักษณ์แสดงถึงความมีอันตราย ความร้อน

ตัวอย่างงานกราฟฟิคเดียวกันแต่ใช้สีต่างกันก็ให้ความรู้สึกไม่เหมือนกัน

ยังไม่หมดนะครับวันนี้เอาไปแค่นี้ก่อนเพราะเดี๋ยวจะตาลาย ที่เหลือผมจะมาต่ออีกที

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ออกแบบกราฟฟิคบัตรเชิญ (Cards)

ออกแบบบัตรเชิญ หรือการ์ด เป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์อีกประเภทหนึ่งที่มีบทบาทในการโฆษณา การออกแบบกราฟฟิคแบบนี้
นักออกแบบกราฟฟิคจะพยายามคิดสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากสัมผัส บัตรเชิญจึงเป็นสื่อที่ใช้เฉพาะกิจต่างๆเช่น งานโชว์แสดงสินค้า เปิดนิทรรศการ การเสนอขายสินค้าหรือบริการใหม่ การออกแบบบัตรหรือการ์ดจึงเน้นความปราณีต สวยงาม ทรงคุณค่าในทางศิลปะ เพราะต้องใช้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ให้เกิดความรู้สึกสนใจ ยิ่งในภาวะปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันสูง นักออกแบบบัตรเชิญจะเน้นการออกแบบกราฟฟิคเป็นอย่างมาก อาจเป็นการเสนอในรูปแบบการ์ดแผ่นเดียวหรือลักษณะแผ่นพับ หรือทำเป็นสามมิติก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมกับงานออกแบบนั้นๆ
ออกแบบการ์ด (card design) รูปแบบต่างๆ ตัวอย่างงานบัตรเชิญของ Apple ในงานเปิดตัวสินค้าใหม่

เป็นบัตรเชิญที่ส่งให้ในรูปแบบจดหมายอิเล็คทรอนิก New Letter

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

การออกแบบกราฟฟิคสำหรับเครื่องหมายหรือโลโก้ Logo

การออกแบบกราฟฟิค (Graphic Design) สำหรับหลักการออกแบบโลโก้ (Logo) ทำไมเราต้องออกแบบโลโก้ จะออกแบบโลโก้ยังไง แล้วโลโก้มีความสำคัญยังไง
ตัวอย่างโลโก้ทั่วๆไปที่เราเห็นที่เราเห็นแล้วทำให้นึกถึงสินค้าได้ สิ่งสำคัญในการออกแบบโลโก้ก็คือต้องง่ายต่อการจดจำ
เข้าใจได้ง่ายมองเห็นแล้วสามารถสื่อสารได้ชัดเจนและควรจะมีที่มาที่ไปเช่น ธนาคารกสิกรไทย สื่อถึง รวงข้าว ใช้สีเขียวให้เข้ากับทุ่งนา
หรือปตท ที่สื่อถึง พลังงาน สทท.ก็สื่อถึงกระบอกเสียงสำหรับการสื่อสารข้อมูลเลยดึงเอาสังข์มาเป็นแบบ และ Shell ก็มีแนวคิดต้นแบบมาจากหอยเซลล์

ตัวอย่างแหล่งที่มาความคิดและการพัฒนารูปแบบการออกแบบ

การออกแบบเครื่องหมายบริษัท สินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือโลโก้ ก็เพื่อสร้างความเชื่อมั่น กระตุ้นความน่าสนใจให้กับบริษัทสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ และยังเป็นการเน้น
ถึงคุณภาพและภาพลักษณะที่น่าเชื่อถือด้วยรูปลักษณ์ของเครื่องหมายที่ปรากฏ
การออกแบบกราฟฟิคเพื่อใช้เป็นโลโก้ ควรมีแหล่งที่มาของความคิดก่อนจะร่างแบบแล้วพัฒนาแบบโดยเริ่มเน้นจากรูปทรงภายนอก เน้นความเรียบง่าย เพื่อหารูปทรงภายนอกที่ดีที่สุด
จนพัฒนาความคิดขั้นสุดท้ายให้ดีที่สุด
การสร้างสรรค์งานกราฟฟิคเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของการออกแบบโลโก้นั้นๆ ดังนี้
1.ออกแบบโดยเน้นความงามเพื่อให้ดูสวยงามตามแบบศิลปะ
2.ออกแบบโดยเน้นความหมายให้โลโก้ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ในตัว
3.ออกแบบโดยการสร้างความเด่นและน่าสนใจให้โลโก้
4.ออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน
การออกแบบไม่ว่าจะการออกแบบอะไรก็ตามจะต้องพิจารณาวัตถุประสงค์หลักของการออกแบบให้ชัดเจนเสียก่อนเพื่อให้งานออกแบบสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
มีความชัดเจน สามารถดึงดูดความสนใจได้ดี โลโก้สามารถนำไปใช้งานได้หลายลักษณะ มีรูปแบบน่าเชื่อถือ เกิดความเชื่อมั่น และยอมรับ

ตัวอย่างโลโก้ที่พบเห็นทั่วไป

วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

ออกแบบกราฟฟิคสำหรับเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Photoshop

การออกแบบกราฟฟิคที่ใช้ในการออกแบบเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมกราฟฟิคในที่นี้เราจะใช้โปรแกรมโฟโต้ช็อป
ในการออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงาม ก่อนที่จะเอาไปเขียนโปรแกรมการใช้งานเราควรจะออกแบบโครงสร้างลักษณะรูปแบบหรือวัตถุประสงค์ที่เราจะทำเว็บไซต์
เพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบกราฟฟิค อาจจะร่างในแผ่นกระดาษก่อนว่าเราควรจะวางโลโก้ เมนูต่างๆ หรือตำแหน่งแบนเนอร์ต่างๆ ในรูปแบบไหน หลังจากนั้นก็ลองสร้างกราฟฟิค
ให้สวยงามโดยโปรแกรมกราฟฟิคต่างๆ แล้วแต่ถนัด ยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่ผมออกแบบโดยใช้โปรแกรมโฟโต้ช็อป (โปรแกรมกราฟฟิคยอดนิยม) เว็บไซต์นี้จะเป็นเว็บเกี่ยวกับการโฆษณาเว็บเหมือน google Ads หรือ bumq Ads โดยเราจะเน้นกลุ่มวัยรุ่นให้เว็บเราดูสดใสน่ารักไม่เป็นทางการมากเหมือนคู่แข่ง แต่เราก็ยังคงรูปแบบการใช้งานที่เข้าใจง่าย



อีกตัวอย่างเป็นการออกแบบเว็บขายของออนไลน์เกี่ยวกับสินค้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ออกแบบโดยเน้นกราฟฟิคเรียบง่ายเน้นสีดำเป็นพื้นหลังให้สินค้าเด่นชัด โดยใช้แบนเนอร์ในการเพิ่มกราฟฟิคให้น่าสนใจ จัดวางเมนูใช้งานง่าย แต่ก็ไม่เรียบจนเกินไป

วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

ออกแบบกราฟฟิคสติกเกอร์สำหรับติดรถ

การออกแบบกราฟฟิค (Graphic Design) สำหรับโฆษณาติดรถ ที่เห็นชัดเจนตอนนี้ก็คือ รถโดยสารประจำทาง รถตู้ รถบรรทุก หรือรถยนต์ส่วนตัว
ก็เอาไปทำได้นะครับแถมได้เงินค่าขนมด้วย สำหรับการออกแบบกราฟฟิคสำหรับรถส่งสินค้าของบริษัท งานออกแบบกราฟฟิค
แบบนี้กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะใช้งบประมาณในการทำไม่มากเคลื่อนที่ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ตรง การออกแบบ
ก็ใช้หลักเดียวกันกับการออกแบบสิ่งพิมพ์ทั่วไปแต่ต้องระมัดระวังในส่วนของช่องว่างต่างๆ ส่วนโค้ง ส่วนเว้า การจัดว่างรายละเอียด
ต้องวัดให้ดีไม่งั้นส่วนที่คุณต้องการอาจจะหายไป บางทีเราออกแบบไปสวย พอเอาไปติดแล้วไม่สวยก็มี ต้องดูจากแบบรถดีๆ
ว่าควรออกแบบๆไหนให้เข้ากัน ตัวอย่างนี้จะเป็นงานออกแบบรถส่งของของบริษัทเป็นรถกระบะต่อตู้ บางบริษัทอาจเป็นรถตู้หรือรถสิบล้อก็ได้
วิธีทำก็ขนาดรถมาเอาแบบละเอียดหน่อยนะแล้วก็มาจัดวางองค์ประกอบของงานกราฟฟิคว่าต้องการสื่ออะไรขายอะไรหรือประชาสัมพันธ์อะไร
อาจออกแบบให้มีสีสันสวยงามโดดเด่นแต่ไม่เน้นขายสินค้าเลยก็ได้เอาให้มันสะดุดตากว่ารถทั่วไปในถนนก็ได้อาจจะสะดุดตาตำรวจด้วยระวังให้ดี
ขออนุญาตขนส่งให้เรียบร้อยจะได้ไม่เดือดร้อนทีหลัง


ตัวอย่างงานแบบที่1


ตัวอย่างงานแบบที่2

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

ออกแบบกราฟฟิคบนสิ่งพิมพ์ทั่วไป

การออกแบบปกหนังสือ (Cover Design) นักออกแบบกราฟฟิคจะต้องออกแบบจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ให้เหมาะสมและสวยงาม โดยแสดงให้เห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน เพื่อให้ทราบว่าเนื้อหาภายในเล่มเป็นอย่างไร โดยพิจารณา ถึงประเภทของหนังสือเช่น หนังสือพิมพ์ หนังสือการตูน สารคดี นิตยสารแฟชั่น หรือนวนิยาย เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบกราฟฟิคให้สวยงามและตรงวัตถุประสงค์กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร
สำหรับการออกแบบโฆษณาในหนังสือหรือนิตยสารก็ควรยืดถือแนวทางเดียวกัน เพื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมายของเรา การจะทำแอดโฆษณาสำหรับสินค้าสักชิ้นเราควรจะมีการวางแผนที่ดีเลือกสื่อที่จะใช้ในการนำเสนอให้เหมาะสม
สำหรับตัวอย่างนี้จะเป็นการออกแบบกราฟฟิคลงในนิตยสาร Mobite – Mag เป็นนิตยสารสำหรับแนะนำโทรศัพท์มือถือ เราใช้นิตยสารนี้ก็เพราะสินค้าเราเป็นโทรศัพท์มือถือกลุ่มเป้าหมายเราก็คือคนที่กำลังมองหาโทรศัพท์มือถือ การออกแบบกราฟฟิคของเราก็เน้นให้อ่านง่ายชัดเจน ราคาดึงดูดใจ


ออกแบบกราฟฟิคในนิตยสาร Mobite-Mag

ออกแบบกราฟฟิคบนสิ่งพิมพ์ทั่วไป

การออกแบบปกหนังสือ (Cover Design) นักออกแบบกราฟฟิคจะต้องออกแบบจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ให้เหมาะสมและสวยงาม โดยแสดงให้เห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน เพื่อให้ทราบว่าเนื้อหาภายในเล่มเป็นอย่างไร โดยพิจารณา ถึงประเภทของหนังสือเช่น หนังสือพิมพ์ หนังสือการตูน สารคดี นิตยสารแฟชั่น หรือนวนิยาย เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบกราฟฟิคให้สวยงามและตรงวัตถุประสงค์กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร
สำหรับการออกแบบโฆษณาในหนังสือหรือนิตยสารก็ควรยืดถือแนวทางเดียวกัน เพื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมายของเรา การจะทำแอดโฆษณาสำหรับสินค้าสักชิ้นเราควรจะมีการวางแผนที่ดีเลือกสื่อที่จะใช้ในการนำเสนอให้เหมาะสม
สำหรับตัวอย่างนี้จะเป็นการออกแบบกราฟฟิคลงในนิตยสาร Mobite – Mag เป็นนิตยสารสำหรับแนะนำโทรศัพท์มือถือ เราใช้นิตยสารนี้ก็เพราะสินค้าเราเป็นโทรศัพท์มือถือกลุ่มเป้าหมายเราก็คือคนที่กำลังมองหาโทรศัพท์มือถือ การออกแบบกราฟฟิคของเราก็เน้นให้อ่านง่ายชัดเจน ราคาดึงดูดใจ


ออกแบบกราฟฟิคในนิตยสาร Mobite-Mag

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

การออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ packing

สำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์มีหน้าที่หลักคือบอกรายละเอียดของสินค้ามีหลายรูปแบบ
แตกต่างกันไปตามลักษณะของสินค้าและวัตถุปรสงค์การใช้งานเช่น เป็นห่อ เป็นหีบ
เป็นกล่อง เป็นขวด เป็นลัง เป็นกระป๋อง ฯลฯ บรรจุภัณฑ์จะมีขนาดต่างๆ ตามขนาดที่บรรจุ
การออกแบบกราฟฟิคบรรจุภัณฑ์แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่มตามลักษณะหน้าที่ดังนี้
1.บรรจุภัณฑ์สำหรับการค้าปลีก นักออกแบบสามารถคิดและสร้างแบบที่เน้นความ
สวยงามเป็นพิเศษ ลักษณะของงานกราฟฟิคของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้จะบอกรายละเอียด
ของตัวสินค้าที่ถูกบรรจุอยู่ภายใน ได้แก่ ชื่อสินค้า สรรพคุณ ผู้ผลิตจำหน่ายและขนาด
หรือปริมาตรของการบรรจุ รายละเอียดต่างๆ เป็นต้น ส่วนนี้สำคัญมากเพราะจะช่วยให้
สินค้าของเราเป็นที่น่าสนใจ
2.บรรจุภัณฑ์เพื่อการค้าส่ง ได้แก่บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นสำหรับสินค้าจำนวนมากๆ
เช่นเป็นโหล เป็นต้น
3.บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นเพื่อใช้สำหรับขนส่งโดยเฉพาะ
การออกแบบต้องช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการขนส่งด้วย มักทำจากกระดาษลูกฟูก
เพื่อลดค่าใช้จ่าย
เราจะเน้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับการค้าปลีกเป็นหลักเพราะสามารถออกแบบ
กราฟฟิคได้หลากหลายโดยสามารถใช้ภาพกราฟฟิคได้อย่างเต็มที่สวยงามเพื่อสร้าง
ภาพลักษณะให้กับสินค้าชึ่งนักออกแบบกราฟฟิค ต้องออกแบบด้วยความระมัดระวัง
และตรงกลุ่มเป้าหมาย
ตัวอย่างการออกแบบกราฟฟิคบรรจุภัณฑ์ packing graphic ที่ผมทำการออกแบบเป็น
บรรจุภัณฑ์แบบกล่อง
เริ่มต้นจากหา concept ในการทำงาน สิ่งที่จะนำเสนอ เพื่อพรีเซนต์สินค้า ธีมสี
ธีมออกแบบไอเดีย
ทำการสเก็ตไอเดียนำเสนอโดยตัวนี้จะเน้นสีแดงให้โดดเด่น และลายกราฟฟิคที่ดูทันสมัยเข้ากับตัวสินค้า

กราฟฟิคบรรจุภัณฑ์แบบกล่อง

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

ออกแบบกราฟฟิคสำหรับแคตาล็อก (CATALOGUE)

สวัสดีครับ หลังจากที่ทำบล็อกเกี่ยวกับการออกแบบกราฟฟิคมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ผลตอบรับก็ยังไม่ค่อยจะดีเท่าที่ควร แต่อันดับในกูเกิ้ล ก็ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว
ตัวอย่างงานออกแบบกราฟฟิคที่เอามาให้ดูอาจจะไม่สวยเท่าไร วันนี้ก็เลยจะมาบอกจุดประสงค์ในการเขียนบล็อกนี้
จุดประสงค์ก็เพื่อแนะนำการออกแบบกราฟฟิค ความสำคัญของการออกแบบกราฟฟิค ให้กับผู้ที่ไม่มีความเข้าใจในการออกแบบกราฟฟิค
เพื่อช่วยในการทำออกแบบกราฟฟิคให้กับผู้ไม่รู้ในทางกราฟฟิค และออกแบบกราฟฟิคให้ฟรี เพราะตรงนี้ผมจะทำเป็นแหล่งรวมงานออกแบบกราฟฟิคของผม
และหลักพื้นฐานการออกแบบกราฟฟิคทั่วๆไปที่ผมนำมาใช้ในการทำงาน
วันนี้เราจะมาออกแบบกราฟฟิคสำหรับทำแคตาล็อกแนะนำสินค้าหรือแนะนำบริษัท (CATALOGUE PROFILE) และผมมีตัวอย่างมาให้ดู
สำหรับแคตาล็อกนี้จะแตกต่างจากแผ่นพับใบปลิวและโบชัวร์ต่างๆ เพราะแคตาล็อกจะมีลักษณะเป็นเล่มๆ เหมือนหนังสือหรือนิตยสารทั่วไป หนาบ้างบางบ้างก็แล้ว
แต่ข้อมูลในแคตาล็อก หลักการหลักๆเลยก็ให้อ่านง่ายชัดเจน เรียงประโยคให้ถูกต้อง ตรงนี้ต้องใช้หลักองค์ประกอบศิลป์มาช่วยในการออกแบบกราฟฟิค
วันหลังจะมาพูดกันอีกทีวันนี้ไปดูตัวอย่างงานกราฟฟิคก่อน

ตัวอย่างแคตาล็อกแนะนำสินค้าว่าบริษัทเรามีสินค้าตัวไหนบ้างใส่ข้อมูลไปให้ครบชัดเจนแบ่งงานโดยใช้สีเข้ามาช่วยก็ได้



ตัวอย่างนี้เป็นแคตาล็อกแนะนำบริษัทว่าเป็นมาอย่างไร

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ตัวอักษรในงานออกแบบกราฟฟิค

กราฟฟิควันนี้จะพูดถึงตัวอักษร การออกแบบตัวอักษรที่จะใช้ในงานออกแบบกราฟฟิค เพื่อบ่งบอกเนื้อหาให้รับรู้ซึ่มตัวอักษรทั้งหมดมีความสำคัญกับการออกแบบมากต้องเน้นเป็นพิเศษ
ทั้งออกแบบรูปร่าง ขนาด และสีสัน อักษรที่ใช้ในการออกแบบกราฟฟิคมักจะมี 3 ขนาด คือ
1.ขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับพาดหัว (Heading) เน้นข้อความเน้นๆสั้นๆเด่นชัด
2.ขนาดกลางหรือขนาดเล็กลงมาสำหรับรายละเอียดข้อความรองลงมา ( Sub Heading)ให้รายละเอียดข้อความได้มากและน่าสนใจ
3.ขนาดเล็ก (copy) สำหรับข้อความที่ให้รายละเอียดต่างๆครบถ้วน แต่ไม่ค่อยเด่นชัดนักเพราะตัวเล็กอาจจะไม่มีคนสนใจมากนัก
การกำหนดขนาดต่างๆในงานออกแบบกราฟฟิคว่าส่วนใดให้มีขนาดใหญ่ส่วนใดให้มีขนาดเล็ก ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนนัก เพราะขึ้นอยู่กับงานกราฟฟิคแต่ละชิ้น
แต่หลักการง่ายๆคือไม่ว่าจะวางตัวอักษรขนาดไหนตำแหน่งไหน ก็ต้องสามารถอ่านออกได้ชัดเจน ซึ่งต้องพิจารณาขนาดสัดส่วนตัวอักษร ระยะห่าง ช่องไฟ บรรทัด ให้สัมพันธ์ งานที่ออกแบบ

ตัวอย่างงานออกแบบกราฟฟิคและการใช้ตัวอักษรของผมเองครับเรียบง่ายๆชัดเจน
รูปแบบตัวอักษรต้องออกแบบให้สวยงามเด่นชัดและเข้ากับงานกราฟฟิคหรือภาพกราฟฟิคของเรา สีสันของตัวอักษรก็ควรมีน้ำหนักตัดกันกับสีพื้น
และไม่ใช้หลายสีจนเกินไปในหนึ่งงานออกแบบกราฟฟิค ควรใช้สีให้เหมาะกับข้อความและงานกราฟฟิค
คราวนี้มาถึงปัญหาของตัวอักษรทั้วไปที่มักจะพบในการออกแบบกราฟฟิคโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะโปรแกรมอะไรก็ตาม ก็คือ สระลอยในข้อความ
วิธีการแก้ไขแบบง่ายๆก็คือ พิมพ์บนคีย์บอร์ดโดยใช้คีย์ Ait + เลข4หลัก เช่น 0139 หรื่ออะไรก็แลัวแต่โค๊ตขอฟอร์นนั้นๆ ต้องหาเอาเองครับ
แต่วันนี้ผมมีโปรแกรมมาแจกเป็นโปรแกรมที่ผมคิดว่าใช้ง่ายที่สุดแล้วจริงๆมันก็มีหลายโปรแกรมนะ
สำหรับโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมตัวเล็กๆ กินทรัพยากรของเครื่องน้อยมากครับ และการติดตั้งนั้น สบายใจได้เพราะว่า ไม่มีการเข้าไปยุ่ง กับ Config ต่างๆ ของ Windows
แน่นอนครับ ใช้ได้กับทุก windows จำเป็นมากสำหรับนักออกแบบกราฟฟิค จะทำให้คุณทำงานได้สะดวกและง่ายขึ้น

ตัวอย่างงานที่ใช้โปรแกรมกับไม่ได้ใช้โปรแกรม
โหลดโปรแกรมแก้สระลอย โปรแกรม Gazib
http://www.beupload.com/download/?758131&A=360474
http://www.upload-thai.com/download.php?id=0c5d354094fc6f459178790d0d9d1f5f
http://www.mediafire.com/?jczgzwjmmdw
เลือกโหลดได้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ออกแบบใบปลิวอีกสักที

วันนี้เอาตัวอย่างงานใบปลิวมาฝากอีกแล้ว อย่างที่เคยบอกไว้ว่าการออกแบบกราฟิคสำหรับงานใบปลิวหรือ Leaflets นั้นมักมีลูกเล่นมากมายดูแล้วมันอิสระดีนะ

การออกแบบกราฟิคก็ไม่จำเป็นต้องเป็นสี่เหลี่ยมเท่านั้น ใบปลิววงกลมก็มีเยอะแยะทำให้การจัดวางดูสวยงามและเร้าใจน่าสนใจยิ่งขึ้น

การกำหนดขนาดของใบปลิวก็ขึ้นอยู่กับขนาดของกระดาษมาตรฐาน เพื่อความสะดวกในการผลิตและประหยัดค่าใช้ใจ

แต่ก็แล้วแต่คุณๆนะจะออกแบบยังไงก็ได้แล้วแต่ไอเดียเลย พยายามนำเสนอตรงกลุ่มเป้าหมายของเราให้ดีที่สุด อย่าไปคำนึงถึงรูปแบบ

ใบปลิวลักษณะเป็นแผ่นพับ มีการไดคัทด้านหน้าให้โค้งตามรูป พับลงมาประกบกับด้านใน

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

ออกแบบแผ่นพับฟรี แผ่นพับ (Folders)

แผ่นพับ (Folders) เป็นสื่อโฆษณาที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าจะส่งตรงถึงผู้บริโภคได้โดยตรงทั้งทางไปรษณีย์ และแจกตามสถานที่ต่างๆ เรียกว่า ไดเร็คเมล์ (Direct Mail)
ลักษณะของแผ่นพับคือมีขนาดเล็ก หยิบถือสะดวก สามารถให้ข้อมูลได้มาก ออกแบบได้อย่างอิสระ หลากหลายสวยงาม ค่าใช้จ่ายในการผลิตถูก เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน เลือกแจก เลือกส่งได้ตรงกลุ่ม ผู้ดูสามารถหยิบมาดูได้ในเวลาที่ต้องการหมือหนังสือเล่มหนึ่ง
เพราะการจัดว่างคล้ายๆกับนิตยสาร การออกแบบต้องสอดคล้องโดยใช้หลักการทางองค์ประกอบศิลป์ การใช้ข้อความและภาพประกอบ
ต้องพิถีพิถัน เป็นพิเศษ เพราะผู้ดูมีโอกาสพิจารณาได้นาน และอาจดูหลายๆครั้งได้ ดั้งนั้นข้อมูลต้องไม่ผิดพลาดจนเกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง การเลือกภาพประกอบที่สวยงาม ตัวอักษรที่สวยงาม สมบูรณ์จะทำให้งานสวยงามและมีเสน่ห์น่าสนใจ
เอาตัวอย่างงานมาให้ดูเป็นตัวอย่าง แบบนี้เป็นแผ่นพับ 2 หน้า 4 พับ หน้าหลัง หรือทั้งหมด 12 หน้า


ตัวอย่างแผ่นพับด้านหน้า


ตัวอย่างแผ่นพับด้านหลัง
เดียวมีข้อมูลเพิ่มเติมจะมาเพิ่มให้ครับ


เอามาให้ดูเพิ่ม

งานออกแบบกราฟฟิคแผ่นพับ ให้ข้อมูลมากมายเหลือเกิน

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ออกแบบป้ายโฆษณา ป้ายบิลบอร์ด (Billboard)

การออกแบบอะไรก็ตามย่อมมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายแตกต่างกัน วิธีการออกแบบก็ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายๆด้าน ซึ่งก็แบ่งได้หลายประเภท
การออกแบบกราฟิคบนสื่อสิ่งพิมพ์ที่จะพูดถึงวันนี้จะเป็นการออกแบบป้ายโฆษณาขนาดใหญ่หรือที่เรียกกันว่าป้ายบิลบอร์ด (Billboard)
ที่มักติดตามตึก ทางด่วน หรือที่ๆมีกลุ่มคนมากๆ สามารถเข้าถึงผู้คนได้ง่ายจึงเป็นที่นิยมใช้ตลอดมา

ปัจจุปันมีธุรกิจที่ทำการแข่งขันกันสูงมากทั้งในเรื่องราคาและคุณภาพ ป้ายโฆษณาสมัยก่อนมักจะเขียนขึ้นบนแผ่นผ้าใช้ระยะเวลาในการเขียนนานกว่าปัจจุปันที่มีเครื่องพิมพ์งานขนาดใหญ่พิมพ์ได้หลายวัสดุ เช่น ไวนิล,สติกเกอร์,ผ้าใบ หรือวัสดุอื่นๆเลยก็ได้ไม่ว่าจะพิมพ์บนแผ่นกระเบื้องเลยหรือบนแผ่นไม้เลย

งานชิ้นนี้ออกแบบให้เน้นตัวสินค้าและข้อความโดยสื่อความหมายออกมาเป็นรูปภาพ คือการเป็นที่หนึ่งในวงการ
ขั้นแรกก็ออกแบบเป็นไอเดียสักสามแบบก่อน โชว์รูปสินค้าเยอะๆก็คิดให้มันแตกต่างจะได้มีอะไรให้คิดหลายๆแบบ

ตัวอย่างงานดีไชน์ที่ยังไม่ได้ขนาดงานจริง
ดูแล้วก็ยังไม่ชอบทั้งหมดแต่ก็พอจะลงตัวกับแบบที่1 เพราะเอาสินค้ามาเรียงกันเป็นเลข 1 ความหมายดี Nember 1 แต่ด้วยความไม่ชัดเจนของตัวเลข 1 และต้องทำการปรับ เลข 1 ให้ชัดเจนขึ้น แลัวเอาสินค้ามาเรียงด้านนอก เพิ่มปีกนกเข้าไปในงานให้ดูน่าสนใจ
แถมดูมี concept มากขึ้น ความเป็นที่ 1 กำลังโบยบินทะยานไปสู่ความสำเร็จ อะไรจะเหมาะเจาะขนาดนี้


งานจริง 16 x 8 เมตร

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

ความสำคัญของการออกแบบกราฟิค เพื่อการประชาสัมพันธ์

ความสำคัญของการออกแบบกราฟิค
ทำไมคุณถึงต้องให้ความสำคัญ บางคนอาจจะมองข้าม แต่ผมมองว่ามันคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจของเราประสบผลสำเร็จ
การออกแบบกราฟิคในปัจจุบันนี้มีขอบข่ายที่กว้างขวางมาก เราจึงจำเป็นที่จะต้องหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา เพราะนับวันยิ่งจะมีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนไปมาก
จากแต่ก่อน เพราะตอนนี้กราฟิคไม่ได้หยุดอยู่ที่สิ่งพิมพ์เท่านั้น แต่มีสื่ออื่นๆอีกมากมายที่นำการออกแบบกราฟิคไปใช้งาน เช่น มัลติมีเดียอื่นๆ งานออกแบบเว็บไซต์ งานโทรทัศน์ ฯลฯ
การออกแบบที่ดีจะช่วยให้ข้อมูลที่ชัดเจน เข้าถึงข้อมูลด้วยความฉับไวเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธภาพยิ่งขึ้น ทำให้เกิดสิ่งสร้างสรรค์ใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อทำให้ธุรกิจพัฒนายิ่งขึ้นไป
นักออกแบบกราฟิคจะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในหลายๆด้านมาประกอบการสร้างสรรค์ สร้างความงาม ความน่าเชื่อถือ และส่งเสริมสนับสนุนทางอุตสาหกรรม
ซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่าให้สินค้าเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
บทความต่อไปผมจะมาแยกแยะรายละเอียดอีกทีพร้อมตัวอย่างงาน

งานออกแบบตัวการ์ตูน