วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้า 3 ออกแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ Packging

หลังจากเราได้ออกแบบโลโก้สินค้า และชุดสำนักงานกันแล้ว เราก็จะมาทำการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ Packging รวมถึงฉลากของบรรจุภัณฑ์กันต่อ ซึ่งส่วนนี้สำคัญมากเพราะจะทำให้สินค้าเราดูโดดเด่นและแตกต่างจากท้องตลาด เพราะบรรจุภัณฑ์สินค้าจะเป็นสิ่งแรกที่เรามองเห็น ถ้าบรรจุภัณฑ์ Packging เราออกแบบสวยงามเหมาะสมแล้วก็จะทำให้การขายง่ายยิ่งขึ้น
สิ่งที่ต้องมีในงานบรรจุภัณฑ์ของเราก็คือ
1.แนวความคิดหรือสิ่งที่เราต้องการให้งานออกแบบเราเป็นไปตามเป้าหมายต้องกำหนดให้ชัดเจนก่อนการทำงานออกแบบทุกครั้ง
2.โลโก้ (ที่เราออกแบบไว้ก่อนแล้ว) เพื่อการสร้างแบรนด์ให้สินค้าน่าจดจำ เพราะเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่และเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่การสร้างผลกำไร
3.ภาพประกอบที่จะใช้บรรจุภัณฑ์ ภาพถ่าย ภาพวาด หรือรูปภาพ วิธีเลือกรูปภาพก็พิจารณาตามหลักการที่เราได้ศึกษามาแล้ว
4.ข้อมูลจำเป็นต่างๆเช่น วัตถุดิบ แหล่งผลิต ชนิดสินค้าเป็นต้น
5.รายละเอียดของบรรจุภัณฑ์ เช่น ถุง กล่อง กระป๋อง เป็นต้น เพื่อความเหมาะสมในการบรรจุสินค้านั้นๆ ให้สวยงามและเก็บรักษาสินค้าได้ถูกวัตถุประสงค์
ตัวอย่างง่านที่เราจะทำการออกแบบนี้เป็นสินค้าโอท็อปผลิตภัณฑ์จากปลาทูตามที่เราได้ทดลองทำตั้งแต่ขั้นแรกแล้ว เราจะสมมุติเป็นดังนี้คือ ข้าวเกรียบปลาทู ปลาทูกระป๋อง และปลาทูนึ่ง เป็นต้น
ขั้นตอนการออกแบบมีดั้งนี้
1.กำหนดแนวความคิด เลือกชนิดของบรรจุภัณฑ์ Packging ให้เหมาะสมว่าสินค้าชนิดนี้เหมาะกับบรรจุภัณฑ์แบบไหน เช่น ซอง กล่อง ขวด หรือกระป๋อง
2.ออกแบบบรรจุภัณฑ์ Packging ในที่นี้หมายถึงการออกแบบเพื่อผลิตเช่นขนาด รูปร่างรูปทรง รูปแบบการเลือกใช้ ไม่ใช่ว่าออกแบบสวยงามแต่ผลิตจริงไม่ได้หรือต้นทุนการผลิตสุงเกินไปจนไม่คุ้มค่า และเหมาะสม
3.กำหนดแนวทางออกแบบหรือแนวความคิดสร้างสรรค์งานในตัวอย่างนี้จะออกแบบโดยได้แนวความคิดมาจาก ลายสานเข่งปลาทู โดยการตัดทอนรายละเอียดออกเหลือเพียงตารางเส้นสานๆกัน โดยใช้สีฟ้าของน้ำทะเลเพื่อให้สื่อถึงความเป็นปลาทูในท้องทะเล
4.จัดตามแนวทางออกแบบกราฟฟิคโดยใช้หลักองค์ประกอบศิลป์เช่นการใช้เส้นในการแบ่งสัดส่วนการจัดวางว่าควรจะวางจุดเด่นจุดรองตรงไหน วางรูปภาพยังไง เลือกใช้สีโทนไหน ทั้งหมดให้ดูธีมหรือแนวความคิดตั้งแต่แรกของเราเป็นหลักจะทำให้งานดูสอดคล้อง



ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ ที่ออกแบบเป็นกล่องใส่ปลาทูเข่งและปลาทูกระป๋อง

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้า 2 ออกแบบชุดสำนักงาน


หลังจากเราได้ออกแบบโลโก้เรียบร้อยแล้ว เราจะมาออกแบบนามบัตรหรืออุปกรณ์สำนักงานต่างๆเราต่อ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าหรือองค์กรของเรา
ขั้นตอนหลักๆก็เหมือนเดิมต้องมีแนวความคิดที่ชัดเจน และสัมพันธ์กับรูปแบบที่เราต้องการ โดยเราอาจจะเอาโลโก้มาเป็นส่วนประกอบในการออกแบบให้สอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสีหรือรูปร่าง
ขั้นตอนทั่วไปในการออกแบบชุดอุปกรณ์สำนักงานที่จะช่วยในการประชาสัมพันธ์ทางอ้อมนอกเหนือจากโปสเตอร์ ใบปลิว แคตตาล็อก โบวชัวร์ สิ่งพิมพ์นิตยสาร หนังสือพิมพ์
ขั้นตอนการออกแบบดั้งนี้
1.กำหนดขอบเขตสิ่งที่จะทำการออกแบบ เช่น การกำหนดขนาดของนามบัตรว่าเราจะออกแบบที่ขนาดไหน โดยมากจะอยู่ที่ 5.5 x 9 cm ในตัวอย่างนี้เราจะทำการออกแบบ นามบัตร ซองจดหมาย ซองเอกสาร ซองใส่ซีดี ปกซีดี และปากกา เป็นต้น
2.กำหนดรูปแบบหรือธีมในการออกแบบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จะทำให้การออกแบบดูกลมกลืนกัน ควรสร้างธีมให้น่าเชื่อถือและสวยงาม ในตัวอย่างนี้ใช้เส้นโค้งของตัวปลาและใช้สีที่สื่อถึงท้องทะเลคือสีโทนฟ้าและสีโทนเย็นๆให้ดูสบายตา
3.ออกแบบและจัดวางงานกราฟฟิคให้ตรงตามหลักการออกแบบและหลักของศิลปะตามที่ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้ สื่อความหมายชัดเจน สวยงาม ในตัวอย่างให้เราวางเส้นโค้งต่างๆให้สมดุลย์ ช่องไฟให้เว้นไว้พอประมาณไม่ให้ดูเแน่นจนเกินไป และใช้สีให้สัมพันธ์กันไม่แตกต่างกันจนดูขัดกันเอง

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้า 1 ออกแบบโลโก้

หลังจากเราได้เรียนรู้ระบบ หลักการออกแบบตามหลักขององค์ประกอบศิลป์แล้วเราก็จะนำหลักการต่างๆที่ได้เรียนรู้ มาเริ่มต้นกระบวนการทำงานสื่อแต่ละประเภท สมมุติว่าเราจะทำสินค้าชนิด1ออกสู่ท้องตลาด ในที่นี้ผมยกตัวอย่างเป็นสินค้าโอท็อป (OTOP) ว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากปลาทูก็แล้วกัน อันดับแรกเลยเราก็คิดชื่อให้สินค้าเราก่อนโดยอาศัยหลักให้โดดเด่นจำง่ายมีความหมายในการนำเสนอยกตัวอย่าง ปลาทูยิ้ม, ปลาทูสองตัว, ปลาทูสยาม หรือปลาทูพลัส ก็ได้ให้มันจำง่ายไว้ก่อน เพราะมันจะทำให้เราทำงานขั้นตอนต่อไปได้ง่ายในที่นี้ผมเลือกชื่อ ปลาทูพลัส เพราะจำง่ายและเอาไปเล่นคำได้หลากหลาย พอได้ชื่อที่ต้องการแล้วเราก็มาออกแบบโลโก้กัน

1. ขั้นตอนการออกแบบกราฟฟิคโลโก้
1.หาแนวความคิดก่อนว่าเราต้องการสื่อแล้วหมายถึงอะไร เช่นแนวคิดมาจากเรือประมง จากทะเล จากภูเขา หรือจากปลา ถ้าเราได้แนวคิดที่จะเสนอแล้ว
เราก็เอาแนวความคิดมาพัฒนาในขั้นต่อไป
2.นำแนวความคิดมาสร้างสรรค์ให้สวยงามตามหลักศิลปะ เช่นการเขียนภาพให้สวยงาม หรือนำมาจากภาพถ่าย
3.ตัดทอนรายละเอียดให้ลดลงเพื่อสร้างความเด่นชัด และน่าสนใจ จดจำง่าย เราอาจจะตัดส่วนที่ไม่สำคัญออกไปเพื่อให้งานเราดูง่ายขึ้น
4.ออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานเช่นถ้าเราออกแบบโลโก้อาหารก็ควรจะออกแบบให้ดูน่ากินและปลอดภัยการใช้สีต้องเหมาะสม
ไม่ใช่ว่าออกแบบโลโก้อาหารแล้วใช้รูปหัวกระโหลกสีแดงอันนี้ก็จะแรงไปหน่อย ยังไงก็ออกแบบให้ดูน่าเชื่อถือไว้หน่อย
ตัวอย่างโลโก้ปลาทูพลัส ผลิตภัณฑ์จากปลาทู อีกอย่างถ้ามีก็จะดีครับคือสโลแกน แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร ผมคงไม่ต้องบอกวิธีคิดนะ
ตัวอย่างกระบวนการสร้างสรรค์ ออกแบบโลโก้ จะเห็นได้ว่าเราสามารถออกแบบพัฒนาไปได้เรื่อยๆจนกว่าจะได้แบบที่พอใจ แต่นักออกแบบบางคนอาจจะหยุดอยู่ที่การพัฒนาแบบที่4หรือ5ก็ได้

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ระบบโรงพิมพ์สิ่งพิมพ์กราฟฟิค การเลือกโรงพิมพ์

หลังจากผ่านขั้นตอนการออกแบบกราฟฟิคในส่วนของการทำต้นแบบหรือต้นฉบับงาน เราก็จะมาศึกษากระบวนการต่อไป
การออกแบบกราฟฟิคนั้นเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของการทำงาน ดังนั้นนักออกแบบกราฟฟิคจะต้องมีความรู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตงานกราฟฟิคด้านต่างๆ
เราควรจะศึกษากระบวนการผลิตสื่อด้านสิ่งพิมพ์ การติดต่อประสานงานกับโรงพิมพ์ การเลือกผลิตสื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ นักออกแบบกราฟฟิคจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ
วัสดุที่จะใช้ในการผลิตสิ่งพิมพ์สำหรับทำต้นฉบับ นักออกแบบกราฟฟิคต้องมีความเข้าใจและสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมตรงตามเป้าหมาย เพราะวัสดุแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของคุณภาพและคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่นกระดาษสำหรับโปสเตอร์ หรือไวนิลสำหรับป้ายโฆษณา
ในปัจจุบันโรงพิมพ์ที่ใช้ในการผลิตสิ่งพิมพ์ จะมีรูปแบบมากมายหลายวิธี การพิมพ์แต่ละแบบแต่ละวิธีต่างมีกระบวนการ ข้อจำกัด ข้อดีข้อเสียต่างกันไป การออกแบบจึงต้องให้เหมาะสมกับประเภทของสิ่งพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไป การพิมพ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังนี้

1.โรงพิมพ์ออฟเซต Offset Printing โรงพิมพ์ประเภทนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงไม่คุ้มค่ากับงานพิมพ์ที่มีจำนวนไม่มาก แต่ถ้างานพิมพ์ปริมาณมากๆก็จะได้ราคาที่ถูกลง เพราะใช้การพิมพ์แบบแยกสีทำเพลท การพิมพ์จากแม่พิมพ์นูน การพิมพ์จากแม่พิมพ์พื้นราบ การพิมพ์จากแม่พิมพ์ที่เป็นร่องลึก

2.โรงพิมพ์ดิจิตอล Digital Printing โรงพิมพ์ประเภทนี้จะช่วยให้การพิมพ์ในปริมาณไม่มากง่ายขึ้น ในราคาที่ถูกลง ไม่ว่าจะสั่งเพียงชิ้นเดียวก็ตาม เพราะใช้เครืองพิมพ์แบบ อิงค์เจ็ต Inkjet print เลเซอร์ laser print ก็อปปี้ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องอัดรูป หรือ อุปกรณ์ดิจิตอลที่สามารถพิมพ์งานได้

3.โรงพิมพ์ซิลค์สกรีน Stencil Screen Printing วิธีการพิมพ์แบบนี้เป็นวิธีง่ายๆโดยใช้หมึกพ่นทะลุส่วนที่เป็นลายฉลุให้ไปติดกับวัสดุพิมพ์


ตัวอย่างเครื่องพิมพ์แบบต่างๆ

นอกจากการพิมพ์แบบนี้แล้วยังมีการพิมพ์แบบต่างๆอีกหลายแบบ การพิมพ์แต่ละแบบก็มีวิธีการ กระบวนการ เทคนิค ตลอดจนหลักการที่แตกต่างกันออกไป

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หลักการจัดวางงานกราฟฟิค Art work ออกแบบสิ่งพิมพ์

หลังจากเราได้สร้างภาพกราฟฟิคและการสร้างตัวอักษรกราฟฟิคที่จะใช้ในงานออกแบบกราฟฟิค (Art work) ของเราแล้ว
เราก็จะมาดูหลักการจัดวางองค์ประกอบของงานโดยอาศัยหลักองค์ประกอบศิลป์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความสวยงาม
การเลือกใช้ภาพประกอบ ฟอน์ตตัวอักษร การจัดวางควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้มาใช้ประกอบการออกแบบจะทำให้ทำงานง่ายขึ้น

สัดส่วน Property หมายถึง ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างวัตถุขนาดต่างๆ ในงานกราฟฟิคซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่ใหญ่ไม่เล็ก
ความสมดุล Balance หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันงานกราฟฟิค ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง พอเหมาะพอดีกับ อาจจะเป็นแบบที่ซ้าย-ขวาเท่ากัน หรือแบบที่ซ้าย-ขวาไม่เท่ากันก็ได้ แล้วแต่เหมาะสม
จังหวะลีลา Rhythm การเคลื่อนไหว โดยเกิดจากเคลื่อนไหวของเส้น สี รูปร่าง รูปทรง หรือ น้ำหนัก ทำให้เกิดงานกราฟฟิคที่มีจังหวะลีลา
การเน้น Emphasis หมายถึง การทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดา โดยจะเด่นส่วนใดส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญกว่าส่วนอื่นๆ ซึ่งจะทำให้งานมีความงาม สมบูรณ์ ลงตัว และน่าสนใจมากขึ้น
เอกภาพ Unity ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของงานออกแบบ ทั้งด้านรูปลักษณะ และเนื้อหาเรื่องราว โดยการเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน
จะเห็นได้ว่าเมือเรานำส่วนต่างๆมาประกอบกันจะทำให้เราออกแบบงานกราฟฟิคได้ง่ายและสวยงามตรงแนวความคิดไม่หลุดจากสิงที่เราต้องการนำเสนอ



ตัวอย่างงานจะเห็นได้ว่าเป็นการจัดว่างภาพประกอบ กับ ตัวอักษรอย่างง่ายๆ โดยใช้องค์ประกอบศิลป ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของวัตถุ หรือ ขนาดตัวอักษรที่พอดี ความสมดุลที่พอดีที่อาจจะดูแล้วซ้าย-ขวาอาจจะไม่เหมือนกันแต่น้ำหนักของงานกับเท่ากัน การเน้นเฉพาะส่วนให้เด่นเป็นพิเศษเช่นตัว N (เอ็น) และความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในเนื้อหาการนำเสนอ

**หมายเหตุ ตัวอย่างงานจากอินเตอร์เน็ต