วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย

ผมได้เรียบเรียงบทความนี้มาใหม่จากแหล่งความรู้ต่างๆมากมาเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายข้อมูลการเขียนบันทึกข้อความความรู้ต่างลงในใบลาน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานสู่คนรุ่นหลัง เป็นที่ทราบกันว่า เทคโนโลยีการพิมพ์เริ่มชัดเจนเมื่อ วันที่ 3  มิถุนายน ค.ศ.1836 (พ.ศ. 2379) หนังสือไทยฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นในเมืองไทย ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า การจัดพิมพ์ตัวหนังสือไทยในเมืองไทยเป็นครั้งแรก เป็นเวลา 150  ปี แต่การพิมพ์หนังสือในไทยน่าจะมีมาก่อนแล้วในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่จะอ้างได้ว่ามีการพิมพ์หนังสือด้วยตัวหนังสือไทย แต่อาจจะพิมพ์ด้วยตัวอักษรโรมัน มีหลักฐานพออ้างได้ว่าเมื่อ  ค.ศ.1662(พ.ศ.2205) มีคณะมิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศสที่เข้ามา ในประเทศไทย ได้พิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย และได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่ตำบลเกาะมหาพราหมณ์เหนือกรุงเก่าขึ้นไป ส่วนอีกโรงอยู่ที่เมืองลพบุรี ต่อมาใน  ค.ศ.1670(พ.ศ. 2213) มิชชันนารีอีกผู้หนึ่ง ชื่อลองกลัวส์ก็ได้คิดจัดตั้งโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์หนังสือไทย จึงขอให้ทางประเทศฝรั่งเศสจัดส่งช่างแกะตัวพิมพ์มาให้เพื่อจะได้ทำการพิมพ์คำสอนทางคริสต์ศาสนาเป็นภาษาไทยโดยใช้ตัวอักษรโรมัน และมีจดหมายเหตุของบาทหลวงซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยนั้น เพื่อขอเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์หนังสือเหมือนกับที่เขาทำกันแล้วในเมืองมะนิลา แม้จะไม่ชัดว่าเครื่องพิมพ์ได้ถูกส่งเข้ามาในประเทศไทย แต่ก็ดีพอเป็นพยานให้เห็นชัดว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้คิดที่จะตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในประเทศ แต่ถึงแม้ว่าจะได้มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในสมัยนั้นจริง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าหนังสือเหล่นั้นหายสาบสูญไปหมดไม่เหลือร่องรอย จึงได้แต่อ้างหลักฐานแวดล้อมกรณีพอเป็นแนวทางให้เห็นได้ว่าได้ มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่คงจะเป็นการพิมพ์โดยใช้ตัวพิมพ์อักษรโรมันเรียงพิมพ์ให้อ่านออกเป็นภาษาไทย ไม่ได้ใช้ตัวพิมพ์เป็นตัวหนังสือไทย ในยุคธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์นี้  การพิมพ์ได้ถูกนำเข้ามาในเมืองไทยอีกครั้งในสมัยพระเจ้าตากสิน กรุงธนบุรี โดยบาทหลวงคาทอลิก ชื่อการ์โนลต์ ได้จัดตั้งโรงพิมพ์และพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซังตาครูซ ตำบลกุฎีจีนในจังหวัดธนบุรี คงจะเป็นสมัยคาบเกี่ยวระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  กับสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้มีการจัดพิมพ์หนังสือ คำสอนคริสตังใน ค.ศ.1796 (พ.ศ. 2339) ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่พิมพ์ในเมืองไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่การเป็นหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มแรกในเมืองไทยนั้น คงจะอ้างเต็มที่ไม่ได้ เพราะถ้าจะพูดถึงการเอาตัวหนังสือโรมันมาพิมพ์เป็นภาษาไทยเป็นเล่มหนังสือขึ้นมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ บุคคลสำคัญในประวัติการพิมพ์ของไทยอีกคนหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือ นางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในเมืองย่างกุ้งของประเทศพม่า มีความสนอกสนใจในภาษาไทยจึงได้ทำการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2356 หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองไปแล้วราว 40 กว่า ปี แต่ต่อมาตัวพิมพ์ชุดนี้ยังไม่ทันได้ใช้งาน ก็ถูกซื้อไปเก็บไว้ที่ประเทศสิงคโปร์โดย โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commissioners for Foreign Missions อันเป็นคณะมิชชันนารี ที่ หมอบลัดเลย์ได้เข้ามาสังกัดอยู่ และภายหลังได้ใช้ชุดหล่อตัวพิมพ์ชิ้นนี้ พิมพ์หนังสือภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกจนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการพิมพ์ของไทย จากประวัติที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าคนสำคัญที่นำกิจการพิมพ์เข้ามาในเมืองไทย เริ่มก่อให้เกิดการพิมพ์ขึ้นและแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางจะต้องยกให้ว่า คือ หมอบรัดเลย์ ชื่อเต็ม Dr. Dan  Beach Bradley  M.D.  เกิดในวันที่18 กรกฏาคม ค.ศ.1808 (พ.ศ. 2351) ต่อมาในปีพ.ศ. 2385 หมอบลัดเลย์ได้หล่อชุดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ และในอีกสองปีต่อมาหมอบลัดเลย์ได้ใช้ชุดพิมพ์ตัวใหม่นี้ จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์รายเดือนภาษาไทยฉบับแรกขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่าชื่อว่าบางกอกรีคอเดอ (Bangkok Recorder) ออกวางจำหน่าย ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกที่มีขึ้นในประเทศไทย แต่หนังสือพิมพ์เล่มดังกล่าวก็อยู่ได้ไม่นานต้องปิดตัวไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่ภรรยาของหมอบลัดเลย์สิ้นชีวิตพอดีทำให้การดำเนินกิจการหนังสือพิมพ์รีคอเดรอ์ไม่สามารถเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงต้องหยุดลงชั่วคราวโดยหมอบลัดเลย์ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศของตนเป็นระยะเวลาหนึ่งและได้แต่งงานใหม่ก่อนจะกลับคืนสู่ประเทศไทยอีกครั้ง  กลับมาคราวนี้หมอหมอบลัดเลย์ได้ลาออกจาก American Board of Commissioners of Foreign Missions เข้ามาย้ายไปสังกัดองค์กร American Missionary Association (AMA) แทน การพิมพ์ของไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ภายหลังที่หมอบรัดเลย์ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทยแล้วก็ได้มีคนอื่นๆ  ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นตามลำดับ ตอนแรกๆ โรงพิมพ์ ที่ตั้งขึ้นใหม่เป็นโรงพิมพ์ของพวกฝรั่ง และเมื่อได้ตั้งขึ้นแล้วก็ได้ออกหนังสือพิมพ์แข่งขันกับหมอบรัดเลย์ ปัจจุบันได้กลายเป็นอุตสาหกรรมการพิมพ์เต็มรูปแบบและมีแนวโน้มจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ  ที่สามารถตอบสนองความต้องการ ของคนได้ในทุกกลุ่ม  ทั้งเป็นเรื่องของความรู้ความบันเทิง และตอบสนองได้แม้กระทั่งความสนใจเฉพาะทาง แต่ความรู้เหล่านั้น จะถ่ายทอดถึงกันไม่ได้เลยหากเราเลือกที่ จะวางหนังสือไว้อย่างเงียบๆบนชั้นหนังสือโดยที่ไม่ได้เปิดออกอ่าน

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย

ผมได้เรียบเรียงบทความนี้มาใหม่จากแหล่งความรู้ต่างๆมากมาเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายข้อมูลอาจจะตรงหรือไม่ตรงยังไงก็ให้ตรวจสอบจากผู้รู้อีกทีก็ได้ครับเพราะผมพยายามเรียบเรียงให้สั้นและเข้าใจง่ายที่สุด โดยเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าการเขียนบันทึกข้อความความรู้ต่างลงในใบลาน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานสู่คนรุ่นหลัง ส่วนการพิมพ์หนังสือเป็นภาษาไทยเป็นที่ทราบกันว่า วันที่ 3  มิถุนายน ค.ศ.1836 (พ.ศ. 2379) หนังสือไทยฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นในเมืองไทย ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า การจัดพิมพ์ตัวหนังสือไทยในเมืองไทยเป็นครั้งแรก เป็นเวลา 150  ปี แต่การพิมพ์หนังสือในไทยน่าจะมีมาก่อนแล้วในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่จะอ้างได้ว่ามีการพิมพ์หนังสือด้วยตัวหนังสือไทย แต่อาจจะพิมพ์ด้วยตัวอักษรโรมัน มีหลักฐานพออ้างได้ว่าเมื่อ  ค.ศ.1662(พ.ศ.2205) มีคณะมิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศสที่เข้ามา ในประเทศไทย ได้พิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย และได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่ตำบลเกาะมหาพราหมณ์เหนือกรุงเก่าขึ้นไป ส่วนอีกโรงอยู่ที่เมืองลพบุรี ต่อมาใน  ค.ศ.1670(พ.ศ. 2213) มิชชันนารีอีกผู้หนึ่ง ชื่อลองกลัวส์ก็ได้คิดจัดตั้งโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์หนังสือไทย จึงขอให้ทางประเทศฝรั่งเศสจัดส่งช่างแกะตัวพิมพ์มาให้เพื่อจะได้ทำการพิมพ์คำสอนทางคริสต์ศาสนาเป็นภาษาไทยโดยใช้ตัวอักษรโรมัน และมีจดหมายเหตุของบาทหลวงซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยนั้น เพื่อขอเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์หนังสือเหมือนกับที่เขาทำกันแล้วในเมืองมะนิลา แม้จะไม่ชัดว่าเครื่องพิมพ์ได้ถูกส่งเข้ามาในประเทศไทย แต่ก็ดีพอเป็นพยานให้เห็นชัดว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้คิดที่จะตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในประเทศ แต่ถึงแม้ว่าจะได้มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในสมัยนั้นจริง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าหนังสือเหล่นั้นหายสาบสูญไปหมดไม่เหลือร่องรอย จึงได้แต่อ้างหลักฐานแวดล้อมกรณีพอเป็นแนวทางให้เห็นได้ว่าได้ มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่คงจะเป็นการพิมพ์โดยใช้ตัวพิมพ์อักษรโรมันเรียงพิมพ์ให้อ่านออกเป็นภาษาไทย ไม่ได้ใช้ตัวพิมพ์เป็นตัวหนังสือไทย ในยุคธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์นี้  การพิมพ์ได้ถูกนำเข้ามาในเมืองไทยอีกครั้งในสมัยพระเจ้าตากสิน กรุงธนบุรี โดยบาทหลวงคาทอลิก ชื่อการ์โนลต์ ได้จัดตั้งโรงพิมพ์และพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซังตาครูซ ตำบลกุฎีจีนในจังหวัดธนบุรี คงจะเป็นสมัยคาบเกี่ยวระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  กับสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้มีการจัดพิมพ์หนังสือ คำสอนคริสตังใน ค.ศ.1796 (พ.ศ. 2339) ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่พิมพ์ในเมืองไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่การเป็นหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มแรกในเมืองไทยนั้น คงจะอ้างเต็มที่ไม่ได้ เพราะถ้าจะพูดถึงการเอาตัวหนังสือโรมันมาพิมพ์เป็นภาษาไทยเป็นเล่มหนังสือขึ้นมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ บุคคลสำคัญในประวัติการพิมพ์ของไทยอีกคนหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือ นางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในเมืองย่างกุ้งของประเทศพม่า มีความสนอกสนใจในภาษาไทยจึงได้ทำการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2356 หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองไปแล้วราว 40 กว่า ปี แต่ต่อมาตัวพิมพ์ชุดนี้ยังไม่ทันได้ใช้งาน ก็ถูกซื้อไปเก็บไว้ที่ประเทศสิงคโปร์โดย โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commissioners for Foreign Missions อันเป็นคณะมิชชันนารี ที่ หมอบลัดเลย์ได้เข้ามาสังกัดอยู่ และภายหลังได้ใช้ชุดหล่อตัวพิมพ์ชิ้นนี้ พิมพ์หนังสือภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกจนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการพิมพ์ของไทย จากประวัติที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าคนสำคัญที่นำกิจการพิมพ์เข้ามาในเมืองไทย เริ่มก่อให้เกิดการพิมพ์ขึ้นและแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางจะต้องยกให้ว่า คือ หมอบรัดเลย์ ชื่อเต็ม Dr. Dan  Beach Bradley  M.D.  เกิดในวันที่18 กรกฏาคม ค.ศ.1808 (พ.ศ. 2351) ต่อมาในปีพ.ศ. 2385 หมอบลัดเลย์ได้หล่อชุดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ และในอีกสองปีต่อมาหมอบลัดเลย์ได้ใช้ชุดพิมพ์ตัวใหม่นี้ จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์รายเดือนภาษาไทยฉบับแรกขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่าชื่อว่าบางกอกรีคอเดอ (Bangkok Recorder) ออกวางจำหน่าย ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกที่มีขึ้นในประเทศไทย แต่หนังสือพิมพ์เล่มดังกล่าวก็อยู่ได้ไม่นานต้องปิดตัวไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่ภรรยาของหมอบลัดเลย์สิ้นชีวิตพอดีทำให้การดำเนินกิจการหนังสือพิมพ์รีคอเดรอ์ไม่สามารถเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงต้องหยุดลงชั่วคราวโดยหมอบลัดเลย์ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศของตนเป็นระยะเวลาหนึ่งและได้แต่งงานใหม่ก่อนจะกลับคืนสู่ประเทศไทยอีกครั้ง  กลับมาคราวนี้หมอหมอบลัดเลย์ได้ลาออกจาก American Board of Commissioners of Foreign Missions เข้ามาย้ายไปสังกัดองค์กร American Missionary Association (AMA) แทน การพิมพ์ของไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ภายหลังที่หมอบรัดเลย์ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทยแล้วก็ได้มีคนอื่นๆ  ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นตามลำดับ ตอนแรกๆ โรงพิมพ์ ที่ตั้งขึ้นใหม่เป็นโรงพิมพ์ของพวกฝรั่ง และเมื่อได้ตั้งขึ้นแล้วก็ได้ออกหนังสือพิมพ์แข่งขันกับหมอบรัดเลย์ ปัจจุบันได้กลายเป็นอุตสาหกรรมการพิมพ์เต็มรูปแบบและมีแนวโน้มจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ  ที่สามารถตอบสนองความต้องการ ของคนได้ในทุกกลุ่ม  ทั้งเป็นเรื่องของความรู้ความบันเทิง และตอบสนองได้แม้กระทั่งความสนใจเฉพาะทาง แต่ความรู้เหล่านั้น จะถ่ายทอดถึงกันไม่ได้เลยหากเราเลือกที่ จะวางหนังสือไว้อย่างเงียบๆบนชั้นหนังสือโดยที่ไม่ได้เปิดออกอ่าน

ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย

ผมได้เรียบเรียงบทความนี้มาใหม่จากแหล่งความรู้ต่างๆมากมาเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายข้อการเขียนบันทึกข้อความความรู้ต่างลงในใบลาน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานสู่คนรุ่นหลัง เป็นที่ทราบกันว่า เทคโนโลยีการพิมพ์เริ่มชัดเจนเมื่อ วันที่ 3  มิถุนายน ค.ศ.1836 (พ.ศ. 2379) หนังสือไทยฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นในเมืองไทย ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า การจัดพิมพ์ตัวหนังสือไทยในเมืองไทยเป็นครั้งแรก เป็นเวลา 150  ปี แต่การพิมพ์หนังสือในไทยน่าจะมีมาก่อนแล้วในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่จะอ้างได้ว่ามีการพิมพ์หนังสือด้วยตัวหนังสือไทย แต่อาจจะพิมพ์ด้วยตัวอักษรโรมัน มีหลักฐานพออ้างได้ว่าเมื่อ  ค.ศ.1662(พ.ศ.2205) มีคณะมิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศสที่เข้ามา ในประเทศไทย ได้พิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย และได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่ตำบลเกาะมหาพราหมณ์เหนือกรุงเก่าขึ้นไป ส่วนอีกโรงอยู่ที่เมืองลพบุรี ต่อมาใน  ค.ศ.1670(พ.ศ. 2213) มิชชันนารีอีกผู้หนึ่ง ชื่อลองกลัวส์ก็ได้คิดจัดตั้งโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์หนังสือไทย จึงขอให้ทางประเทศฝรั่งเศสจัดส่งช่างแกะตัวพิมพ์มาให้เพื่อจะได้ทำการพิมพ์คำสอนทางคริสต์ศาสนาเป็นภาษาไทยโดยใช้ตัวอักษรโรมัน และมีจดหมายเหตุของบาทหลวงซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยนั้น เพื่อขอเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์หนังสือเหมือนกับที่เขาทำกันแล้วในเมืองมะนิลา แม้จะไม่ชัดว่าเครื่องพิมพ์ได้ถูกส่งเข้ามาในประเทศไทย แต่ก็ดีพอเป็นพยานให้เห็นชัดว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้คิดที่จะตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในประเทศ แต่ถึงแม้ว่าจะได้มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในสมัยนั้นจริง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าหนังสือเหล่นั้นหายสาบสูญไปหมดไม่เหลือร่องรอย จึงได้แต่อ้างหลักฐานแวดล้อมกรณีพอเป็นแนวทางให้เห็นได้ว่าได้ มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่คงจะเป็นการพิมพ์โดยใช้ตัวพิมพ์อักษรโรมันเรียงพิมพ์ให้อ่านออกเป็นภาษาไทย ไม่ได้ใช้ตัวพิมพ์เป็นตัวหนังสือไทย ในยุคธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์นี้  การพิมพ์ได้ถูกนำเข้ามาในเมืองไทยอีกครั้งในสมัยพระเจ้าตากสิน กรุงธนบุรี โดยบาทหลวงคาทอลิก ชื่อการ์โนลต์ ได้จัดตั้งโรงพิมพ์และพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซังตาครูซ ตำบลกุฎีจีนในจังหวัดธนบุรี คงจะเป็นสมัยคาบเกี่ยวระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  กับสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้มีการจัดพิมพ์หนังสือ คำสอนคริสตังใน ค.ศ.1796 (พ.ศ. 2339) ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่พิมพ์ในเมืองไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่การเป็นหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มแรกในเมืองไทยนั้น คงจะอ้างเต็มที่ไม่ได้ เพราะถ้าจะพูดถึงการเอาตัวหนังสือโรมันมาพิมพ์เป็นภาษาไทยเป็นเล่มหนังสือขึ้นมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ บุคคลสำคัญในประวัติการพิมพ์ของไทยอีกคนหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือ นางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในเมืองย่างกุ้งของประเทศพม่า มีความสนอกสนใจในภาษาไทยจึงได้ทำการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2356 หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองไปแล้วราว 40 กว่า ปี แต่ต่อมาตัวพิมพ์ชุดนี้ยังไม่ทันได้ใช้งาน ก็ถูกซื้อไปเก็บไว้ที่ประเทศสิงคโปร์โดย โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commissioners for Foreign Missions อันเป็นคณะมิชชันนารี ที่ หมอบลัดเลย์ได้เข้ามาสังกัดอยู่ และภายหลังได้ใช้ชุดหล่อตัวพิมพ์ชิ้นนี้ พิมพ์หนังสือภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกจนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการพิมพ์ของไทย จากประวัติที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าคนสำคัญที่นำกิจการพิมพ์เข้ามาในเมืองไทย เริ่มก่อให้เกิดการพิมพ์ขึ้นและแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางจะต้องยกให้ว่า คือ หมอบรัดเลย์ ชื่อเต็ม Dr. Dan  Beach Bradley  M.D.  เกิดในวันที่18 กรกฏาคม ค.ศ.1808 (พ.ศ. 2351) ต่อมาในปีพ.ศ. 2385 หมอบลัดเลย์ได้หล่อชุดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ และในอีกสองปีต่อมาหมอบลัดเลย์ได้ใช้ชุดพิมพ์ตัวใหม่นี้ จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์รายเดือนภาษาไทยฉบับแรกขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่าชื่อว่าบางกอกรีคอเดอ (Bangkok Recorder) ออกวางจำหน่าย ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกที่มีขึ้นในประเทศไทย แต่หนังสือพิมพ์เล่มดังกล่าวก็อยู่ได้ไม่นานต้องปิดตัวไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่ภรรยาของหมอบลัดเลย์สิ้นชีวิตพอดีทำให้การดำเนินกิจการหนังสือพิมพ์รีคอเดรอ์ไม่สามารถเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงต้องหยุดลงชั่วคราวโดยหมอบลัดเลย์ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศของตนเป็นระยะเวลาหนึ่งและได้แต่งงานใหม่ก่อนจะกลับคืนสู่ประเทศไทยอีกครั้ง  กลับมาคราวนี้หมอหมอบลัดเลย์ได้ลาออกจาก American Board of Commissioners of Foreign Missions เข้ามาย้ายไปสังกัดองค์กร American Missionary Association (AMA) แทน การพิมพ์ของไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ภายหลังที่หมอบรัดเลย์ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทยแล้วก็ได้มีคนอื่นๆ  ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นตามลำดับ ตอนแรกๆ โรงพิมพ์ ที่ตั้งขึ้นใหม่เป็นโรงพิมพ์ของพวกฝรั่ง และเมื่อได้ตั้งขึ้นแล้วก็ได้ออกหนังสือพิมพ์แข่งขันกับหมอบรัดเลย์ ปัจจุบันได้กลายเป็นอุตสาหกรรมการพิมพ์เต็มรูปแบบและมีแนวโน้มจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ  ที่สามารถตอบสนองความต้องการ ของคนได้ในทุกกลุ่ม  ทั้งเป็นเรื่องของความรู้ความบันเทิง และตอบสนองได้แม้กระทั่งความสนใจเฉพาะทาง แต่ความรู้เหล่านั้น จะถ่ายทอดถึงกันไม่ได้เลยหากเราเลือกที่ จะวางหนังสือไว้อย่างเงียบๆบนชั้นหนังสือโดยที่ไม่ได้เปิดออกอ่าน

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

วัฏจักรการออกแบบโฆษณา

ขั้นตอนวัฏจักรการออกแบบโฆษณา ไปเจอมาเห็นว่ามีประโยชน์ดีเลยเก็บมาให้อ่าน หลังจากไม่ได้เขียนมานานขอเอาบทความมารีไรท์ให้เข้าใจง่ายขึ้นหน่อย

1.การออกแบบขั้นแรก ขั้นริเริ่ม หรือขั้นบุกเบิก (Pioneering Stage) ได้แก่ ขึ้นตอนแรกของการออกแบบโฆษณาสำหรับสินค้าใหม่ที่ออกสู่ตลาดครั้งแรก ซึ่งจะต้องทุ่มงบประมาณโฆษณาค่อนข้างสูง
ระดมสื่อหลาย ประเภทให้ประชาชนได้พบเห็นอย่างทั่วถึง หรือเน้นเฉพาะสื่อประเภทใดประเภทหนึ่งและย้ำความถี่บ่อย ๆ โดยเน้นความแปลก-ใหม่ ที่น่าสนใจ ให้เกิดการยอมรับ
เกิดความต้องการซื้ออย่างมั่นใจว่าดีกว่า หรือไม่ด้วยกว่าสินค้ายี่ห้ออื่น ๆ ที่มีอยู่เดิม เพื่อจะได้อุดหนุนกันเป็นประจำต่อไป

2.การออกแบบขั้นที่สอง ขั้นแข่งขัน (Competitive Stage) เมื่อสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดและเป็นที่สนใจของประชาชน สินค้าประเภทเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อกันอาจจะสูญเสียลูกค้าไปบางส่วน
ถ้ายังไม่คิดดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ก็อาจจะสูญเสียลูกค้าไปเรื่อย ๆ ระยะนี้จึงถึงเวลาที่จะต้องต่อสู้กับคู่แข่งขัน โดยสินค้าเก่าที่เคยครองตลาดอยู่ก่อน ต่างตื่นตัวขึ้นมาปรับปรุงพัฒนาสินค้า ของตนให้น่าสนใจ
อาจจะปรับปรุงคุณภาพใหม่ เติมสูตรเดิมสารพิเศษใหม่ ๆ หรือเปลี่ยนแปลงหีบห่อใหม่ที่น่าสนใจ ฯลฯ หรือออกสินค้ารุ่นใหม่มาต่อสู้กับคู่แข่งในขั้นนี้ จะต้องทุ่มทุนโฆษณาค่อน ข้างหนัก
โดยพยายามเน้นส่วนดีที่เหนือกว่าสินค้าของคู่แข่งขัน เพื่อให้ลูกค้าสนใจ

3.การออกแบบขั้นที่สามขั้นรักษาตลาด (Retentive Stage) เนื่องจากขั้นแข่งขันจำเป็นต้องทุ่มโฆษณาค่อนข้างหนัก ด้วยการระดมสื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ ทั้งต้องย้ำความถี่บ่อย ๆ
เมื่อเห็นว่าสินค้าที่โฆษณา ได้รับความนิยมดีแล้วจำเป็นต้องลดบทบาทการโฆษณา ลงบ้าง เพื่อการประหยัด แต่การโฆษณาจะหยุดโดยสิ้นเชิงไม่ได้ เพราะอาจจะต้องสูญเสียตลาดไปอย่างถาวร
จำเป็นต้องทำการโฆษณาเพื่อรักษาความนิยมให้คงอยู่เสมอ เรียกการโฆษณาขั้นนี้ว่า “ขั้นรักษาตลาด”

แหล่งอ้างอิง: www.google.com

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้า ออกแบบ สื่งพิมพ์ ใบปลิว

การโฆษณาสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ มีสื่อมากมายในการทำประชาสัมพันธ์ ทั้งสื่อด้วยภาพเสียงและเนื้อหาต่างๆ การออกแบบ สิ่งพิมพ์ ใบปลิว การออกแบบ แผ่น พับ
การออกแบบ design โปสเตอร์ที่เราเคยทำมาก่อนหน้านี้ ใบปลิวก็จะช่วยขยายความโปสเตอร์ที่เราออกแบบได้เป็นอย่างดี การออกแบบให้สอดคล้องกับ สื่งพิมพ์
โปสเตอร์ จะยิ่งทำให้ สินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ ของเรา สื่อได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โปรแกรมออกแบบที่นิยมใช้ก็มีให้เลือกใช้มากมาย แต่หลักๆที่นิยมกันก็จะอยู่ในตระกูล adobe
การออกแบบ ใบปลิว จะแตกต่างจาก แผ่นพับ เพราะใบปลิวจะไม่ พับ กระดาษ อาจจะเป็นหนึ่งหน้าหรื่อสองหน้าก็ได้ ตามแต่จะ design ข้อมูลในใบปลิวมักจะใส่รายละเอียด
ได้มากกว่าโปสเตอร์ อาจจะเพราะว่าเรามีเวลาได้อ่านมากกว่าโปสเตอร์ที่เราเห็นติดอยู่ทั่วไป ตามทางเดินแต่เราไม่สะดวกที่จะหยิบไปอ่านมากนัก แต่ การออกแบบใบปลิว
หรือทำสิ่งพิมพ์ประเภทใบปลิว ถ้าเราได้รับเราอาจจะเก็บไว้อ่านที่บ้านได้ ถ้าเราทำการ ออกแบบ ก็ควรจะทำให้ใบปลิวมีความน่าสนใจ แต่ก็ควรจะรองรับกับสื่อโฆษณาประเภทอื่นๆ
การออกแบบใบปลิว



ส่วนประกอบในการออกแบบใบปลิวที่เราต้องใส่ไว้ในใบปลิว
1.ภาพประกอบไม่ว่าจะเป็นภาพเหมือนจริง ภาพ กราฟฟิค การ์ตูน หรือ ภาพนามธรรม
2.ข้อความตัวอักษรควรเน้นขนาดตัวอักษรให้มี 3 ขนาด ได้แก่ข้อความใหญ่ไว้พาดหัวใบปลิวให้น่าสนใจ ข้อความขนาดกลางเพื่อบอกรายละเอียดที่น่าสนใจให้ชัดเจนขึ้น
และข้อความขนาดเล็ก สำหรับรายละเอียดข้อมูลที่จะบอก ถ้าขนาดข้อความมีระดับความน่าสนใจที่แตกต่างกันก็จะทำให้งานออกแบบมีจุดเด่นมากขึ้น
3.โลโก้ สินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ ควรอยู่ในตำแหน่งที่ชัดเจนชึ่งเป็นรายละเอียดการ ออกแบบ ที่มักจะมองข้ามกัน
4.รายละเอียดที่สำคัญของ สินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ เช่นสถานที่ติดต่อ ที่อยู่ พยายามลงให้ครบจะเกิดประโยชน์กับใบปลิวของเรา อาจทำให้ใบปลิว ดู รก ๆไปบ้างแต่ก็น่าจะเกิดประโยชน์มากกว่าดูโล่งๆ
ทั้งหมดนี้อาจจะเป็นเพียงแนวคิดง่ายๆที่จะทำให้งานออกแบบเราทำได้ง่ายขึ้น

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีสร้างความน่าสนใจในงานออกแบบ

การออกแบบโฆษณาสิ่งพิมพ์ในหน้ากระดาษเราต้องวางแผนงานล่วงหน้าต้องมีการออกแบบ แบบร่างหลายๆรูปแบบเพื่อจะได้แนวทางการจัดหน้ากระดาษที่ดีที่สุด เพื่อให้งานที่จะทำขึ้นมามีความน่าสนใจ เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ดู วิธีการสร้างความน่าสนใจทำได้หลายวิธี ได้แก่
1.สร้างความสนใจด้วยขนาด การทำขนาดในชิ้นงานที่ออกแบบให้แปลกไปจากปกติจะทำให้ผู้ดูเกิดความรู้สึกใหม่ เช่น ใหญ่พิเศษ เล็กเป็นพิเศษ ยาวกว่าปกติ หรือสั้นกว่าปกติ เป็นต้น
2.สร้างความน่าสนใจด้วยวิธีออกแบบ รูปแบบที่สวยงามแปลกตา ด้วยการใช้เทคนิคใหม่ๆ ในการออกแบบ หรือใช้วิธีที่ดูเด่น เช่น การใช้สื่อต่างๆ มาประกอบตัวงาน ตัวงานอาจจะมีพื้นผิวสัมผัส เพื่อให้งานดูน่าสนใจขึ้น หรือการใช้วิธีการจัดองค์ประกอบศิลปให้น่าสนใจ
3.การปล่อยเนื้อที่ว่าง เป็นอีกวิธีหนึ่งในหลังองค์ประกอบศิลป์การเว้นพื้นที่ว่างจะต้องสอดคล้องกับการจัดว่างเนื้อหาและภาพประกอบ
4.การสร้างความสนใจโดยใช้ภาพประกอบ เช่นการใช้เทคนิคการสร้างภาพ 3มิติ แล้วนำมาประกอบในงานออกแบบ ก็ทำให้น่าสนใจด้วยเหมือนกัน
5.สร้างความสนใจโดยการเน้นส่วนหนึ่งให้พิเศษกว่าส่วนอื่นให้ดูแตกต่างออกไปเพื่อเน้นความสนใจผู้ดูให้ความสนใจส่วนนั้นเป็นพิเศษ
6.สร้างความสนใจโดยใช้สี สีที่สดใสย่อมดึงดูความสนใจได้ดีกว่าสีนุ่มนวล สีเข้มย่อมดูชัดกว่าสีอ่อน เช่นเราอาจจะใช้สีอ่อนทั้งงานประมาณ 80% แล้วใช้สีเข้ม 20% ก็สามารถทำให้งานดูมีจุดเด่นน่าสนใจ
7.สร้างความน่าสนใจโดยการคิดเทคนิคใหม่ในการออกแบบงานเสมอจะทำให้งานน่าสนใจไม่เหมือนใคร



ตัวอย่างงานออกแบบ

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์งานออกแบบและจิตวิทยาในการออกแบบ

การวิเคราะห์งานออกแบบเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งหลังจากการออกแบบ เราต้องมีการตรวจสอบการทำงานสร้างสรรค์ของเราทุกขั้นตอน
เพื่อให้การออกแบบของเราสามารถสื่อสารได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการออกแบบจึงต้องตรวจสอบอย่างละเอียด ให้มีความพึ่งพอใจ เข้าใจสื่อสารชัดเจนตรงกัน และออกแบบจัดวางอย่างเหมาะสม
การใช้จิตวิทยามาเน้นเรื่องการออกแบบให้โน้มน้าวใจจึงมีส่วนสำคัญ งานออกแบบที่สวยงามอาจจะไม่ใช่งานออกแบบที่สื่อสารได้ดีทีสุดก็ได้ เพราะความสวยงามในการออกแบบคนเราบางคนอาจจะมีความชอบต่างกัน ก็ทำให้ผลของการออกแบบไม่เป็นไปดังจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้นการวิเคราะการออกแบบจะช่วยให้งานออกแบบมีคุณภาพมากขึ้น เราอาจจะต้องเอาหลักจิตวิทยามาช่วยในการออกแบบ
เพราะนักจิตวิทยามีความเชื่อว่า แรงจูงใจ (Motivation) ช่วยกระตุ้นความคิดให้เกิดพฤติกรรมในการสื่อสาร เมื่อเกิดการคล้อยตามก็จะแสดงออกทางพฤติกรรม การแสดงออกที่เห็นได้ชัดคือ การให้ความสนใจมากขึ้นหรือการทำเลียนแบบข้อมูลนั้นๆ
การออกแบบควรใช้แนวทางเชิงจิตวิทยาด้วย โดยเฉพาะการออกแบบโฆษณาที่ใช้สายตามองหรือรับรู้ด้วยตา งานออกแบบที่ให้ความสำคัญต่อจิตวิทยากับการมองเห็นรับรู้จึงนำไปสู่ความสำเร็จในการออกแบบโฆษณา



ตัวอย่างงานที่ใช้หลักจิตวิทยาทำให้ภาพดูจูงใจ กระตุ้นความคิดให้เกิดกระบวนการสื่อสาร
ตัวอย่างงานจากอินเตอร์เน็ต*