ออกแบบโฆษณา ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบกราฟฟิค ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบแคตตาล็อก catalog โรงพิมพ์ ink jet indoor outdoor โรงพิมพ์ออฟเซ็ต Offset โบวชัวร์ brochure leaflet แผ่นพับ ใบปลิว โลโก้ Logo นามบัตร Graphic Design การใช้โปรแกรมออกแบบกราฟฟิค บทความกราฟฟิค แหล่งความรู้กราฟฟิค กราฟฟิคดีไชน์
วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย
ผมได้เรียบเรียงบทความนี้มาใหม่จากแหล่งความรู้ต่างๆมากมาเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายข้อการเขียนบันทึกข้อความความรู้ต่างลงในใบลาน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานสู่คนรุ่นหลัง เป็นที่ทราบกันว่า เทคโนโลยีการพิมพ์เริ่มชัดเจนเมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.1836 (พ.ศ. 2379) หนังสือไทยฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นในเมืองไทย ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า การจัดพิมพ์ตัวหนังสือไทยในเมืองไทยเป็นครั้งแรก เป็นเวลา 150 ปี แต่การพิมพ์หนังสือในไทยน่าจะมีมาก่อนแล้วในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่จะอ้างได้ว่ามีการพิมพ์หนังสือด้วยตัวหนังสือไทย แต่อาจจะพิมพ์ด้วยตัวอักษรโรมัน มีหลักฐานพออ้างได้ว่าเมื่อ ค.ศ.1662(พ.ศ.2205) มีคณะมิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศสที่เข้ามา ในประเทศไทย ได้พิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย และได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่ตำบลเกาะมหาพราหมณ์เหนือกรุงเก่าขึ้นไป ส่วนอีกโรงอยู่ที่เมืองลพบุรี ต่อมาใน ค.ศ.1670(พ.ศ. 2213) มิชชันนารีอีกผู้หนึ่ง ชื่อลองกลัวส์ก็ได้คิดจัดตั้งโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์หนังสือไทย จึงขอให้ทางประเทศฝรั่งเศสจัดส่งช่างแกะตัวพิมพ์มาให้เพื่อจะได้ทำการพิมพ์คำสอนทางคริสต์ศาสนาเป็นภาษาไทยโดยใช้ตัวอักษรโรมัน และมีจดหมายเหตุของบาทหลวงซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยนั้น เพื่อขอเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์หนังสือเหมือนกับที่เขาทำกันแล้วในเมืองมะนิลา แม้จะไม่ชัดว่าเครื่องพิมพ์ได้ถูกส่งเข้ามาในประเทศไทย แต่ก็ดีพอเป็นพยานให้เห็นชัดว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้คิดที่จะตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในประเทศ แต่ถึงแม้ว่าจะได้มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในสมัยนั้นจริง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าหนังสือเหล่นั้นหายสาบสูญไปหมดไม่เหลือร่องรอย จึงได้แต่อ้างหลักฐานแวดล้อมกรณีพอเป็นแนวทางให้เห็นได้ว่าได้ มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่คงจะเป็นการพิมพ์โดยใช้ตัวพิมพ์อักษรโรมันเรียงพิมพ์ให้อ่านออกเป็นภาษาไทย ไม่ได้ใช้ตัวพิมพ์เป็นตัวหนังสือไทย ในยุคธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์นี้ การพิมพ์ได้ถูกนำเข้ามาในเมืองไทยอีกครั้งในสมัยพระเจ้าตากสิน กรุงธนบุรี โดยบาทหลวงคาทอลิก ชื่อการ์โนลต์ ได้จัดตั้งโรงพิมพ์และพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซังตาครูซ ตำบลกุฎีจีนในจังหวัดธนบุรี คงจะเป็นสมัยคาบเกี่ยวระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้มีการจัดพิมพ์หนังสือ คำสอนคริสตังใน ค.ศ.1796 (พ.ศ. 2339) ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่พิมพ์ในเมืองไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่การเป็นหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มแรกในเมืองไทยนั้น คงจะอ้างเต็มที่ไม่ได้ เพราะถ้าจะพูดถึงการเอาตัวหนังสือโรมันมาพิมพ์เป็นภาษาไทยเป็นเล่มหนังสือขึ้นมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ บุคคลสำคัญในประวัติการพิมพ์ของไทยอีกคนหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือ นางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในเมืองย่างกุ้งของประเทศพม่า มีความสนอกสนใจในภาษาไทยจึงได้ทำการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2356 หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองไปแล้วราว 40 กว่า ปี แต่ต่อมาตัวพิมพ์ชุดนี้ยังไม่ทันได้ใช้งาน ก็ถูกซื้อไปเก็บไว้ที่ประเทศสิงคโปร์โดย โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commissioners for Foreign Missions อันเป็นคณะมิชชันนารี ที่ หมอบลัดเลย์ได้เข้ามาสังกัดอยู่ และภายหลังได้ใช้ชุดหล่อตัวพิมพ์ชิ้นนี้ พิมพ์หนังสือภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกจนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการพิมพ์ของไทย จากประวัติที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าคนสำคัญที่นำกิจการพิมพ์เข้ามาในเมืองไทย เริ่มก่อให้เกิดการพิมพ์ขึ้นและแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางจะต้องยกให้ว่า คือ หมอบรัดเลย์ ชื่อเต็ม Dr. Dan Beach Bradley M.D. เกิดในวันที่18 กรกฏาคม ค.ศ.1808 (พ.ศ. 2351) ต่อมาในปีพ.ศ. 2385 หมอบลัดเลย์ได้หล่อชุดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ และในอีกสองปีต่อมาหมอบลัดเลย์ได้ใช้ชุดพิมพ์ตัวใหม่นี้ จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์รายเดือนภาษาไทยฉบับแรกขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่าชื่อว่าบางกอกรีคอเดอ (Bangkok Recorder) ออกวางจำหน่าย ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกที่มีขึ้นในประเทศไทย แต่หนังสือพิมพ์เล่มดังกล่าวก็อยู่ได้ไม่นานต้องปิดตัวไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่ภรรยาของหมอบลัดเลย์สิ้นชีวิตพอดีทำให้การดำเนินกิจการหนังสือพิมพ์รีคอเดรอ์ไม่สามารถเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงต้องหยุดลงชั่วคราวโดยหมอบลัดเลย์ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศของตนเป็นระยะเวลาหนึ่งและได้แต่งงานใหม่ก่อนจะกลับคืนสู่ประเทศไทยอีกครั้ง กลับมาคราวนี้หมอหมอบลัดเลย์ได้ลาออกจาก American Board of Commissioners of Foreign Missions เข้ามาย้ายไปสังกัดองค์กร American Missionary Association (AMA) แทน การพิมพ์ของไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ภายหลังที่หมอบรัดเลย์ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทยแล้วก็ได้มีคนอื่นๆ ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นตามลำดับ ตอนแรกๆ โรงพิมพ์ ที่ตั้งขึ้นใหม่เป็นโรงพิมพ์ของพวกฝรั่ง และเมื่อได้ตั้งขึ้นแล้วก็ได้ออกหนังสือพิมพ์แข่งขันกับหมอบรัดเลย์ ปัจจุบันได้กลายเป็นอุตสาหกรรมการพิมพ์เต็มรูปแบบและมีแนวโน้มจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการ ของคนได้ในทุกกลุ่ม ทั้งเป็นเรื่องของความรู้ความบันเทิง และตอบสนองได้แม้กระทั่งความสนใจเฉพาะทาง แต่ความรู้เหล่านั้น จะถ่ายทอดถึงกันไม่ได้เลยหากเราเลือกที่ จะวางหนังสือไว้อย่างเงียบๆบนชั้นหนังสือโดยที่ไม่ได้เปิดออกอ่าน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น